Page 53 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 53

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน






                    ๒) จัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และนโยบายต่อรัฐบาลและรัฐสภา
              	     ๓) ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความความเข้าใจ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม
              ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน โดยการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ
              สถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชน ตลอดจนป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                    ทั้งนี้  กสม.สามารถตรวจสอบการละเมิด  ทั้งจากเอกชน  เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ
              โดยสามารถหยิบยกบางกรณีมาตรวจสอบได้เองแม้จะไม่มีผู้ร้องเรียน
              	     ในการตรวจสอบการละเมิด  กสม.  ไมจำกัดอยูที่การพิจารณาความชอบตามกฎหมาย
              ที่บังคับใชอยูเทานั้น แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่ากฎหมาย กฎ หรือระเบียบต่างๆนั้น ขัดกับหลัก
              สิทธิเสรีภาพ  และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ตามรัฐธรรมนูญหรือพันธกรณีระหว่างประเทศด้าน

              สิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคีหรือไม่
                    นอกจากนี้  บางกรณีแม้อาจจะมีการกระทำหรือละเลยการกระทำที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
              แต่ กสม.อาจพิจารณาว่าเป็นการกระทำที่ไมเปนธรรม ที่ต้องกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาได้เช่นกัน
              และที่สำคัญ กสม.ยังมีอำนาจหน้าที่ในการไกลเกลี่ยเยียวยาในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
              แต่ถ้าปรากฏในภายหลังว่าไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลง กสม.มีอำนาจตรวจสอบเรื่องนั้นต่อไป



















              	     กสม. มีหน้าที่จัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และกำหนดมาตรการ

              แก้ไขตามระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย แตไมมีอำนาจในการ
              สั่งการใหมีผลบังคับโดยตรง เพียงแตกำหนดใหรายงานตอนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการใหมีการ
              แกไขภายใน ๖๐ วัน ถายังไมมีการแกไข ใหรายงานตอรัฐสภาเพื่อพิจารณาดำเนินการตอไป
                    ทั้งนี้ กสม.ไม่จำเป็นและไม่ควรมีอำนาจสั่งการเหมือนศาล แต่ควรให้มีการยึดโยงไปสู่การใช้
              อำนาจของศาล ซึ่งเคยมีการเสนอในขณะร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และในขณะร่างพระราชบัญญัติ
              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แต่ไม่ประสบผล กล่าวคือ การเสนอให้ กสม.สามารถ
              เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และให้ กสม. เสนอต่อศาลปกครอง
              เพื่อวินิจฉัยกฎ ระเบียบ และการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ในกรณีขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ กสม. สามารถ

              ฟ้องต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายได้
                    รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๐๐ วรรคสาม บัญญัติว่า “เพื่อบรรลุวัตถุประสงคในการสงเสริมและ
              คุมครองสิทธิมนุษยชน  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติมีอำนาจเรียกเอกสารหรือ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๕๓





     Master 2 anu .indd   53                                                                      7/28/08   8:49:28 PM
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58