Page 51 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 51

บทที่ ๓































                                                          บทบาทหน้าที่ของ

                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                    และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน




                   ที่มาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ต่อไปในรายงานนี้จะใช้ชื่อว่า กสม.)

                 ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เกิดจาก
              รัการต่อสู้และเรียกร้องต้องการของประชาชน  ลักษณะเด่นคือการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
              ขอบเขตทั่วประเทศ
                    เจตนารมณ์และเนื้อหาหลักของรัฐธรรมนูญ มีสาระสำคัญ คือ

                    ๑) รับรองการส่งเสริมและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค
              ของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลและสิทธิของชุมชน การกระจาย
              อำนาจสู่ชุมชนและท้องถิ่น และให้มีองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองให้สิทธิเสรีภาพนั้น
              ปรากฏเป็นจริง
                    ๒) ให้การเมืองของภาคประชาชนเข้มแข็ง คู่ขนานกับ
              การเมืองของนักการเมืองในระบบตัวแทน  นั่นคือ  ให้
              ประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการวางแผนและการจัดการ

              ฐานทรัพยากร มีสิทธิในการพัฒนาและให้ประชาชนมีอำนาจ
              ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
                    ๓)  การกระจายอำนาจให้ชุมชนและองค์กรปกครอง
              ท้องถิ่น
              	     กสม. จึงเกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็น
              หนึ่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และมี
              พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ รองรับ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๕๑





     Master 2 anu .indd   51                                                                      7/28/08   8:48:27 PM
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56