Page 58 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 58
๓
บทที่
(๓) การผลักดันให้หน่วยงานและ
เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่มีบทบาทในการใช้
มาตรการทางบริหารร่วมกันแก้ไขปัญหา
คณะอนุกรรมการฯ เน้นการจัดประชุมหารือและ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด หรือ
หารือปลัดกระทรวงและอธิบดีโดยตรง เพื่อปรึกษา
หารือแนวทางแก้ไขปัญหาและให้มีการสั่งการที่
จริงจังและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะนายจ้างบางพื้นที่
อาศัยทั้งอิทธิพล ช่องโหว่ของกฎหมาย และการทุจริตของเจ้าหน้าที่บางราย ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานข้อเท็จาศัยทั้งอิทธิพล ช่องโหว่ของกฎหมาย และการทุจริตของเจ้าหน้าที่บางราย ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานข้อเท็จ
อ
จริงเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี และรัฐมนตรี เพื่อใช้อำนาจทางการบริหารชะลอความ
รุนแรงของความขัดแย้งหรือความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการฟ้องคดีทั้งสองฝ่าย เช่น การ
ประชุมร่วมกับผู้ว่าฯ เพื่อผลักดันและติดตามความคืบหน้า และจัดสัมมนาเชิงนโยบายร่วมกับองค์กร
ต่างๆ เช่น ที่จังหวัดระยอง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัด
ขอนแก่น ตลอดจนคณะอนุกรรมการได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทุกรัฐบาล แม้จะมีการ
เปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีบ่อยครั้งก็ตาม
๕๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 58 7/28/08 8:50:31 PM