Page 50 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 50

๒  ๒
        บทที่
        บทที่





















                	     ที่มาของผู้พิพากษาสมทบ


                
     (๑) ให้สมาคมนายจ้างกับรัฐวิสาหกิจและสหภาพแรงงานเสนอชื่อผู้แทนฝ่ายตนต่ออธิบดี
                กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ได้รับมอบหมาย เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ แล้วจัดให้มี
                การเลือกตั้งให้ได้จำนวนไม่เกินสองเท่าของจำนวนที่กำหนด
                      กรณีไม่มีองค์กรลูกจ้างหรือนายจ้าง ให้ที่ประชุมผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
                ของสถานประกอบกิจการในเขตศาลแรงงานนั้นเสนอชื่อผู้แทนฝ่ายตน มีการตรวจสอบคุณสมบัติ
                และมีการคัดเลือกกันเองให้ได้จำนวนไม่เกินสองเท่าของจำนวนที่กำหนด และเสนอต่อเลขาธิการ
                สำนักงานศาลยุติธรรม
                      (๒) ผู้พิพากษาสมทบจะต้องได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับศาลแรงงานและการปฏิบัติ

                หน้าที่ในฐานะผู้พิพากษา ต้องปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม
                โดยไม่ผูกพันตนว่าเป็นฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้าง และรักษาความลับในราชการ ดำรงตำแหน่ง
                คราวละสามปี วันที่มาปฏิบัติหน้าที่ถือเป็นวันทำงานให้แก่นายจ้างและให้นายจ้างอำนวยความ
                สะดวกตามสมควร
                      ปัจจุบันมีการจัดตั้งศาลแรงงานภาคทั่วประเทศแล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน










        ๕๐    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   50                                                                      7/28/08   8:47:33 PM
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55