Page 57 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 57
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
คอนซัลแทนท์ จำกัด ได้รับความเดือดร้อนจากการ
ถูกกล่าวหาว่าทุจริต ตรวจสอบโดยคณะอนุกรรมการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๔) รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๔๗ / ๒๕๔๖
เรี่อง การถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตรวจสอบโดย
คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ต่อมามีการร้องเรียนของผู้ใช้แรงงานเพิ่ม
ขึ้นมาก ในหลายมิติทั้งรายบุคคล กลุ่ม หรือ
สหภาพแรงงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานไทย
ไปทำงานต่างประเทศ แรงงานภาครัฐ แรงงาน
นอกระบบและแรงงานข้ามชาติ
ด้วยความตระหนักถึงความเดือดร้อน
ของผู้ใช้แรงงานซึ่งมีความเสียเปรียบในสังคม
เป็นอย่างมาก ความซับซ้อนของเรื่องร้องเรียน
ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและนโยบายของรัฐ กสม. จึง
มีคำสั่งที่ ๖๑/๒๕๔๖ แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการ
ศึกษาและตรวจสอบปัญหาแรงงาน” เมื่อวันที่ ๙
กันยายน ๒๕๔๖
เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเพื่อ
ให้มีคณะอนุกรรมการ ฯ ที่ทำหน้าที่โดยตรงในการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน
กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตลอดจนส่งเสริมการศึกษาวิจัย
การรณรงค์และการร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในสังคม และต่อมา กสม.
ได้แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน” ตามคำสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่
๙๐/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ซึ่งได้ปฏิบัติงานสืบมาจนถึงปัจจุบัน
กระบวนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
(๑) ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทั้งสองฝ่าย และจากหน่วยราชการหรือภาคเอกชนที่
เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิบางกรณี เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม ซึ่งเป็น
อำนาจหน้าที่สำคัญของ กสม. ในการทำความจริงให้ปรากฏ ทั้งการชี้แจงด้วยเอกสารและด้วยวาจา
(๒) การประชุมหารือเพื่อไกล่เกลี่ย ภาวะกดดันของลูกจ้างที่จะต้องรับการประนีประนอม
ทั้งๆ ที่เสียเปรียบ เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันของคู่กรณี เพื่อลดภาระของแรงงานในการต่อสู้คดี
ทางศาล โดยคณะอนุกรรมการ ฯ เชื่อมั่นว่า การค้นหาความเป็นจริงให้ปรากฏอย่างถูกต้องและ
เที่ยงธรรมมากที่สุด บนฐานที่ผู้เดือดร้อนมีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเอง จะเป็นหลักสำคัญในการเจรจา
ไกล่เกลี่ยและเข้าใจในมิติสิทธิมนุษยชน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๕๗
Master 2 anu .indd 57 7/28/08 8:50:09 PM