Page 59 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 59

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน






                                                           	     (๔)  การประสานงานกับสภาทนาย
                                                           ความตามที่มีบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ
                                                           กสม.  เพื่อให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้
                                                           ร้องเรียนที่ถูกละเมิดสิทธิ ในกรณีที่ไม่สามารถ
                                                           ช่วยเหลือหรือพึ่งพาตนเองได้และเป็นคดีที่มี
                                                           ความยุ่งยากซับซ้อน
                                                           	     (๕) การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ
                                                           การละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการฯ
                                                           จะจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิด

                                                           สิทธิมนุษยชน  รายกรณี  หรือรวมกลุ่มเรื่อง
                                                           ร้องเรียนเดียวกัน เพื่อเสนอให้ กสม. พิจารณา
                                                           และจัดทำให้เป็นรายงานฯโดย กสม. ซึ่ง กสม.
                                                           จะกำหนดมาตรการแก้ไขต่อบุคคลและหน่วย
                                                           งานที่ละเมิด พร้อมกำหนดระยะเวลาให้แก้ไข
                                                           และอาจมีข้อเสนอแนะต่อกฎหมายและเชิง

                                                           นโยบาย แต่ กสม.ไม่มีอำนาจบังคับ ซึ่งถ้าไม่
                                                           ปฏิบัติตาม กสม.จะส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี
                                                           ดำเนินการใน ๖๐ วัน หลังจากนั้น กสม. จึง
                                                           เสนอต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
              	     มีหลายกรณีที่ผู้ร้องเรียนได้นำรายงานผลการตรวจสอบฯ  โดย  กสม.ไปเป็นพยานหลักฐาน
              ประกอบในการพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์  และศาลแรงงาน  เนื่องจากยังไม่มี
              ช่องทางที่  กสม.  สามารถเสนอรายงานต่อศาลต่างๆได้ด้วยตนเอง  ตลอดจนการร้องเรียนของ
              ประชาชนต่อองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
              	     (๖) การรณรงค์สร้างความเข้าใจต่อสาธารณะและสื่อมวลชน ในระหว่างกระบวนการตรวจ
              สอบ หรือภายหลังจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดย กสม. แล้วก็ตาม และใน

              บางกรณีคณะอนุกรรมการฯอาจมีข้อเสนอเร่งด่วนต่ออธิบดีหรือรัฐมนตรี ในระหว่างการตรวจสอบ
              หรือมีการแถลงข่าวในกรณีเร่งด่วนหรือเป็นกรณีร้ายแรง
              	     (๗)  การจัดอบรม  หรือร่วมเป็นวิทยากรให้แก่หน่วยงานต่างๆ  ในการให้ความรู้หรือ
              แลกเปลี่ยนประสบการณ์  ในประเด็นเฉพาะกลุ่ม  หรือความเข้าใจสิทธิมนุษยชนในภาพรวม
              ทั้งในกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ถูกละเมิด กลุ่มสหภาพแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน และต่อหน่วยงานของรัฐ
              โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
              	     (๘) การจัดสัมมนาอย่างต่อเนื่องตลอด ๕ ปีของการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิ

              แรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับสถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน องค์กรของ
              ผู้ใช้แรงงาน องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ จนถึงองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อร่วมกัน
              ประมวลข้อเท็จจริงที่ซับซ้อน เพื่อนำเสนอการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและนโยบายของรัฐ เพื่อ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๕๙





     Master 2 anu .indd   59                                                                      7/28/08   8:50:38 PM
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64