Page 54 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 54
๓
บทที่
หลักฐานที่เกี่ยวของจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคล
ใดมาใหถอยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน
ในการปฏิบัติหนาที่ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ภารกิจที่สำคัญในการทำความจริงให้ปรากฏ
รองรับด้วยอำนาจของ กสม. ตามมาตรา ๓๒ และ
มาตรา ๓๔ แห่ง พ.ร.บ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ มีสาระสำคัญ คือ
มาตรา ๓๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการ
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือสอบถามส่วนราชการ หน่วยงาน
ของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จ
จริงหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรืองาน
ใดๆ หรือส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่
เกี่ยวข้อง หรือส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำประกอบ
การพิจารณาได้
(๒) มีหนังสือเรียกบุคคล นิติบุคคล หรือ
หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือให้
ส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมา
ตามวัน เวลา และสถานที่กำหนด...
(๓) ดำเนินการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจออก
หมายเพื่อเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือเพื่อ
รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและโดยไม่ชักช้า...
มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานที่ถูกเรียก
หรือสั่งให้ส่งตามมาตรา ๓๒(๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง
หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕ ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๒(๒) ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในส่วนของข้อจำกัดอำนาจหน้าที่ ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๐๐ แต่มีการ
บัญญัติเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวคือ
มาตรา ๒๒ ในกรณีที่มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล หรือที่ศาลพิพากษา หรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว
ให้คณะกรรมการมีอำนาจตรวจสอบและเสนอมาตรการแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรานี้ก่อให้เกิดการตีความต่างกันในอำนาจหน้าที่ของ กสม.โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ
เอกชนบางส่วนที่ถูกร้องเรียน ตีความเพื่อหลบเลี่ยงการถูกตรวจสอบ ขณะที่ กสม.ตีความว่าถ้า
ประเด็นการตรวจสอบไม่ใช่ประเด็นเดียวกับเรื่องที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดี กสม.ย่อมมีอำนาจตรวจสอบ
๕๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 54 7/28/08 8:49:38 PM