Page 56 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 56
๓
บทที่
กสม.กำหนดให้มีองค์ประกอบสาม
ประสาน ประกอบด้วยกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ องค์กรเครือข่ายทั้งองค์กรพัฒนา
เอกชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากรัฐ และ
เอกชน รวมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยทั่วไปคณะอนุกรรมการ
แต่ละชุดที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนตามที่
กสม. มอบหมายจะทำหน้าที่ทั้งสามด้านของ
กสม. ควบคู่กันไป ทั้งการตรวจสอบกรณีร้องเรียน
การเสนอแนะกฎหมายและนโยบาย และการ
รณรงค์เพื่อสร้างสรรค์และส่งเสริมวัฒนธรรมสิทธิ
มนุษยชน เพราะแต่ละกรณีเมื่อมีการตรวจสอบ
พบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็มักจะเกี่ยวข้องกับ
นโยบายของรัฐ และกฎหมายต่างๆ ควบคู่ไป
ด้วย และการจะพัฒนาแก้ไขปัญหาได้อย่าง
ยั่งยืน ก็ต้องให้สังคมได้มีกระบวนการเรียนรู้เรื่อง
สิทธิมนุษยชนร่วมกัน ดังนั้นภารกิจจึงมีทั้งการ
ตรวจสอบจากปัญหารายกรณีไปสู่ความเข้าใจ
และตระหนักในสิทธิมนุษยชนในภาพรวม และ
จัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนเพื่อนำเสนอต่อ กสม.
ในช่วงแรกมีเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิแรงงานไม่มาก กสม.จึงมอบหมายคณะอนุกรรมการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนชุดที่ ๑-๔ ดำเนินการตรวจสอบ ต่อมามีกรณีร้องเรียนของสหภาพแรงงาน
จิน่าสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนและควรจะดำเนินการเร่งด่วน กสม.จึงตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อการ
ศึกษาและตรวจสอบข้อพิพาทแรงงานบริษัท จิน่า ฟอร์มบรา จำกัด และจัดทำรายงานผลการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดย กสม.เป็นเรื่องแรก และต่อมามีรายงานผลการตรวจสอบการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนโดย กสม. ด้านแรงงานที่ตรวจสอบโดยคณะอนุกรรมการก่อนมีการจัดตั้ง
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ดังนี้
๑) รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๔/๒๕๔๕ เรื่อง บริษัท จิน่า ฟอร์มบรา จำกัด ถูกกล่าวหาว่า
ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสหภาพแรงงานจิน่าสัมพันธ์ ตรวจสอบโดย คณะอนุกรรมการเพื่อการศึกษา
และตรวจสอบข้อพิพาทแรงงาน บริษัท จิน่า ฟอร์มบรา จำกัด
๒) รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๑๖/๒๕๔๖ เรื่อง การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสหภาพแรงงาน
ทรงชัยปั่นทอ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ตรวจสอบโดยคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชน ๒
๓) รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๓/๒๕๔๗ เรื่อง อดีตพนักงานบริษัท พีซีไอ อินชัวรันซ์
๕๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 56 7/28/08 8:49:53 PM