Page 49 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 49
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
คำนิยามที่สำคัญ
มาตรา ๔ “คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
“คนเข้าเมือง”é หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร
มาตรา ๑๗ ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องรัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
จะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนใดๆ
หรือจะยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใดๆ ก็ได้ (กรณีแรงงานต่างด้าว
๓ สัญชาติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติของคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้แรงงาน
ต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ
และอนุญาตให้ทำงานได้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑)
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดทางอาญา มีโทษทั้งจำ
และปรับ ตั้งแต่ปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐บาท ถึงจำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี
๒.๑๐ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒
และฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๐
มีการจัดตั้งศาลแรงงานเพื่อพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะ โดยมีหลักการให้
พิจารณาคดีด้วยความประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม ผู้พิพากษาในศาลแรงงานประกอบ
ด้วยผู้พิพากษาที่เป็นข้าราชการตุลาการ และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง โดย
เฉพาะผู้พิพากษาสมทบทั้งสองฝ่ายมีจำนวนฝ่ายละเท่าๆ กัน ผู้พิพากษาศาลแรงงานเป็นผู้มี
ความรู้และความเข้าใจในปัญหาแรงงาน และกฎหมายให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษในการ
ตรวจสอบการเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง และการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๔๙
Master 2 anu .indd 49 7/28/08 8:47:03 PM