Page 48 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 48

๒
        บทที่






              ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหาร และลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิในการร่วม
              เจรจาต่อรองตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้อง เพื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
              การระงับข้อพิพาทแรงงาน การจัดตั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์
              เกี่ยวกับการจ้างในรัฐวิสาหกิจ การกำหนดให้มีคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งเป็น
              คณะกรรมการไตรภาคีที่จะกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ การกำหนดให้มี
              คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งซึ่งเป็นคณะกรรมการทวิภาคี เพื่อการปรึกษาหารือ
              ให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างฝ่ายบริหารกับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ
                    ๒.๗ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓
              	     	    กำหนดให้มีการจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล เพื่อให้ความคุ้มครองแก่

              ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายที่มิใช่เป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณี
              คลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน โดยอัตราเงินสมทบกรณีประสบ
              อันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และคลอดบุตร ให้จัดเก็บในอัตรารวม ๓ ฝ่ายไม่เกินร้อยละ ๔.๕
              ของค่าจ้าง สำหรับกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ให้จัดเก็บในอัตรารวม ๓ ฝ่าย ไม่เกินร้อยละ
              ๙ ของค่าจ้าง และกรณีว่างงาน ให้จัดเก็บในอัตรารวม ๓ ฝ่าย ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของค่าจ้าง ทั้งนี้
              ลูกจ้างที่เข้าข่ายจะได้รับบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้  รวมถึงค่าคลอดบุตร ค่าทำ
              ศพเงินสงเคราะห์ทายาทในกรณีตาย ค่าสงเคราะห์บุตรและเงินบำเหน็จบำนาญ กรณีชราภาพ

              
    ๒.๘ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.๒๕๓๗
                         กำหนดให้มีการจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างปีละหนึ่งครั้งในอัตราร้อยละ  ๐.๒-๑.๐
              ของค่าจ้าง ตามลักษณะความเสี่ยงภัยของประเภทกิจการนั้นๆ เงินสมทบที่จัดเก็บได้นี้ให้นำไปจ่าย
              เป็นเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะ สูญเสียสมรรถภาพของ
              ร่างกาย ตายหรือสูญหายอันเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง โดยลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทน
              เป็นค่ารักษาพยาบาล  ค่าทดแทนการขาดรายได้  ค่าทำศพ  หรือค่าฟื้นฟูสรรถภาพในการทำงาน
              ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับของการประสบอันตรายนั้นๆ

                    นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายด้านแรงงานในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น

              	     ๒.๙. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
              
     
    เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศและความสงบเรียบร้อยของประชาชน
              เนื่องจากปัจจุบันคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรได้ทวีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ พระราชบัญญัติ
              คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗
              ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว มีบทบัญญัติต่างๆ  ที่ไม่ทันสมัยและไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
              ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเสียใหม่
                    กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายสำคัญในการควบคุมคนต่างด้าวทุกประเภท โดยมีอำนาจหน้าที่

              ในการตรวจบุคคล  พาหนะที่เข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร  การอนุญาตให้อยู่ใน
              ราชอาณาจักรของคนต่างด้าวทั้งที่ถูกกฎหมาย  และไม่ถูกกฎหมาย  ทั้งที่เข้ามาในราชอาณาจักร
              เป็นการชั่วคราว หรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นต้น

        ๔๘    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   48                                                                      7/28/08   8:46:48 PM
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53