Page 47 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 47

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน






              แรงงานเป็นรายปีในอัตราร้อยละ ๑ ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ โดยคิดจาก
              จำนวนลูกจ้างที่ไม่ได้จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามสัดส่วนที่กำหนด
              	     	    สิทธิประโยชน์ ผู้ที่จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามกฎหมายฉบับนี้ จะได้รับสิทธิ
              และประโยชน์ดังนี้
                         ๑. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษสำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในการจัดให้มีการฝึก
              อบรมฝีมือแรงงาน
                         ๒. นำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ช่างฝีมือแรงงานหรือผู้ชำนาญการเพื่อ
              เป็นครูฝึก รวมทั้งคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะเข้ามาในราชอาณาจักร
                         ๓.  ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม  สำหรับเครื่องมือ  เครื่องจักร  และ

              อุปกรณ์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ฝีกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
                         ๔. ได้รับการหักค่าไฟฟ้าและค่าประปาเป็นจำนวน ๒ เท่าของค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการ
              ฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
                         ๕. ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
                         ๖.  ได้รับยกเว้นจากกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วย
              แรงงานสัมพันธ์ (เฉพาะกรณีฝึกเตรียมเข้าทำงาน)
                         ๗. ได้รับความช่วยเหลือจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในด้านการฝึกอบรมต่างๆ

                         ๘. ได้รับคำปรึกษาแนะนำจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาฝีมือ
              แรงงาน
                         ๙. สิทธิประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
              	     ๒.๔ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘
                         กฎหมายแรงงานสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกระบวนการเสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์
              ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลง
              สภาพการจ้าง  การระงับข้อพิพาทแรงงาน  สิทธิของนายจ้างและลูกจ้างในการจัดตั้งสมาคมและ
              สหภาพแรงงาน เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับการจ้าง การจัดสวัสดิการและส่งเสริม
              ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง การจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างเพื่อการปรึกษาหารือ

              หรือแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่าง  ๆ  ในการทำงาน  และหาทางปรองดองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
              เพื่อให้เกิดความสงบสุขในอุตสาหกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
              	     ๒.๕ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
              	     	    กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
              มาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานทั่วไป การใช้แรงงานหญิง การใช้แรงงานเด็ก ค่าตอบแทนการทำงาน
              สวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงาน ค่าชดเชยการเลิกจ้าง และกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง รวมทั้ง
              การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองลูกจ้าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

              และให้ลูกจ้างมีสุขอนามัยที่ดี อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่นายจ้าง ลูกจ้าง และการพัฒนาประเทศ
                    ๒.๖ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓
                         กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรฐานสิทธิประโยชน์และ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๔๗





     Master 2 anu .indd   47                                                                      7/28/08   8:46:47 PM
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52