Page 46 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 46
๒
บทที่
➯ ผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศ จะต้องมีสัญชาติไทย และมีเงินประกันจำนวน
หนึ่งแสนบาท วางไว้กับนายทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่
ผู้ขออนุญาตจัดหางานเป็นนิติบุคคล ต้องมีสัญชาติไทยและมีผู้จัดการซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มี
ลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
➯ ผู้ขออนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัท
มหาชน จำกัด มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท มีผู้จัดการซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้าม และมีหลักประกันเป็นจำนวนเงินห้าล้านบาทวางไว้กับนายทะเบียน
จัดหางานกลางเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
๔. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ ส่งคนหางานเข้ารับการทดสอบฝีมือ
๕. กำหนดมาตรการในการควบคุมการดำเนินการทดสอบฝีมือ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบ
ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งนี้การทดสอบฝีมืออาจจะดำเนินการโดยสถานทดสอบฝีมือของรัฐหรือ
สถานทดสอบฝีมือของเอกชน
๒.๓ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕
มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ.๒๕๓๗ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฝึกอาชีพแก่บุคคลซึ่งอยู่ในวัยทำงานให้มีฝีมือ สอดคล้องกับความ
ต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรม และเพื่อให้บุคคลซึ่งทำงานอยู่แล้วได้รับการฝึกเพื่อยกระดับมาตรฐาน
ฝีมือแรงงาน และการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน รวมทั้งเพื่อให้มีการร่วมมือระหว่างสถาน
ประกอบการและสถานศึกษาในการรับนักเรียน นิสิตนักศึกษาเข้ารับการฝึกในสถานประกอบการ
และการส่งผู้รับการฝึกหรือผู้ซึ่งสถานประกอบการจะรับเข้าทำงานไปรับการฝึกอาชีพในสถานศึกษา
หรือสถานฝึกอาชีพของทางราชการ
ทั้งนี้เพื่อให้นายจ้างและสถานประกอบกิจการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการ
ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕ มีวัตถุประสงค์ในการ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มาก
ยิ่งขึ้นโดยมีมาตรการจูงใจด้านการยกเว้นและลดหย่อนภาษีอากร รวมทั้งการให้สิทธิและประโยชน์ใน
ด้านต่างๆ โดยปรับปรุงสิทธิและประโยชน์ให้นายจ้างและสถานประกอบกิจการที่ดำเนินการฝึกเตรียม
เข้าทำงาน การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน ตลอดจนการฝึกเพื่อเปลี่ยนสาขาอาชีพฝีมือแรงงานให้กับ
บุคคลที่จะรับเข้าทำงานและลูกจ้างของตนเองให้มีความเหมาะสมและเพิ่มมากขึ้น
การฝึกอบรม นอกจากสถานประกอบการจะเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง หรือจ้างจัด
ฝึกอบรมแล้ว สถานประกอบการอาจส่งผู้รับการฝึกไปฝึก ณ สถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือ
แรงงานของทางราชการ หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานอื่นที่นายทะเบียน (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
เห็นชอบก็ได้ โดยผู้ดำเนินการฝึกจะได้รับสิทธิและประโยชน์เช่นเดียวกับการฝึกเอง กรณีผู้ประกอบ
กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไปไม่จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานในสัดส่วนร้อยละ ๕๐
ของลูกจ้างทั้งหมด หรือจัดแล้วไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือ
๔๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 46 7/28/08 8:46:45 PM