Page 45 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 45
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
ประเภทคนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตทำงานได้ แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้
๑. คนต่างด้าวทั่วไป (มาตรา ๗) หมายถึง
(๑) คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
(๒) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
๒. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการ
ส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
การลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น (มาตรา ๑๐)
๓ .คนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว(มาตรา๑๒) หมายถึง
คนต่างด้าว ๔ ประเภท คือ
(๑) คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไป
ประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใด แทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ
(๒) คนตางดาวที่เขามาอยูในราชอาณาจักรโดยไมไดรับอนุญาตตามกฎหมายวา
ดวยคนเขาเมือง และอยูในระหวางรอการสงกลับออกนอกราชอาณาจักร
(๓) คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศ
คณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายอื่น เช่น บุคคลที่เกิด
ภายหลังวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
(๔) คนต่างด้าวโดยผลของการถูกถอนสัญชาติ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่
๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายอื่น
ในการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อาศัย
อำนาจตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้ กำหนดเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ในการอนุญาตทำงาน
และออกใบอนุญาตทำงาน และกำหนดประเภทกิจการที่จะให้คนต่างด้าวที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับ
ทำงานได้ (งานกรรมกร และคนรับใช้ในบ้าน) และมีการแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ
และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อให้คนต่างด้าวที่เข้า
เมืองถูกต้องตามกฎหมายทำงานเป็นกรรมกรได้ และออกกฎกระทรวงกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และ
วิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน
๒.๒ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘
เดิมมีพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.๒๕๑๑ บังคับใช้ จนกระทั่งได้มี
การประกอบธุรกิจในการจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมากขึ้น และมีการหลอกลวง
คนหางาน จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติจัดหางานฯ พ.ศ.๒๕๑๑ มาเป็นพระราชบัญญัติ
จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.๒๕๒๘ (มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกในปี ๒๕๓๗ และปี ๒๕๓๘)
โดยมีสาระสำคัญ คือ
๑. ให้มีสำนักงานจัดหางานของรัฐที่จะให้บริการจัดหางานแก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า
๒. ขยายรูปแบบการคุ้มครองคนหางานให้ได้รับความเป็นธรรม และได้รับการช่วยเหลือเมื่อ
ประสบความเดือดร้อน
๓. ควบคุมและดูแลการประกอบธุรกิจจัดหางานของเอกชนอย่างจริงจัง ทั้งนี้
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๔๕
Master 2 anu .indd 45 7/28/08 8:46:44 PM