Page 43 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 43
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
มาตรา ๔๔
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ
หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือเพื่อรักษาความ
สงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์
กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายเฉพาะ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีล
ธรรมอันดีของประชาชนหรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ
มาตรา ๖๐ บุคคลย่อมมีสิทธิและมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรับใน
การปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตนตามที่
กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๖๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลา
อันสมควร ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๗๕ รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่าง
รวดเร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของประชาชน
รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้พอเพียงกับการบริหารงานโดยอิสระของคณะกรรมการการ
เลือกตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและคณะกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดิน
มาตรา ๗๖ รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกระดับ
มาตรา ๘๖ รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะ
แรงงานเด็กและแรงงานหญิง จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ การประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรงงาน
ให้เป็นธรรม
นอกจากนี้ หมวดว่าด้วยศาลและกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งหมวดอื่นๆ ก็เกี่ยวข้องกับคน
ทำงานในฐานะประชาชนไทย และในฐานะมนุษย์ทุกคน
รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีสถาบันกลไกระดับชาติในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คือ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา ๑๙๙-๒๐๐) ตลอดจนกลไกใหม่ๆ เพื่อควบคุมการใช้
อำนาจรัฐ อาทิเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๕๕-๒๗๐) ศาลปกครอง (มาตรา ๒๗๖-๒๘๐)
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง(มาตรา ๓๐๘-๓๑๑) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๔๓
Master 2 anu .indd 43 7/28/08 8:46:41 PM