Page 42 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 42
๒
บทที่
๙) เสรีภาพในการเดินทาง
แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศอย่างถูกกฎหมาย ควรมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปในที่ต่าง ๆ
ภายในประเทศที่ตนทำงานอยู่ ยกเว้นแต่เฉพาะสถานที่ที่แรงงานของประเทศก็ถูกจำกัดสิทธิเช่นกัน
๑๐) การส่งเงินกลับบ้าน
แรงงานข้ามชาติพึงมีสิทธิที่จะส่งเงินกลับ (ภายในจำนวนที่กฎหมายอนุญาต) และเก็บเงินได้
๑๑) การเยี่ยมบ้านและครอบครัวมาเยี่ยม
๑๒) บริการให้คำปรึกษาต่างๆ
เพื่อช่วยแรงงานข้ามชาติปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดำรงชีวิต การได้รับ
สวัสดิการต่างๆ จากหน่วยงานรัฐ โดยจัดให้บริการโดยบุคคลที่สามารถสื่อสารในภาษาของแรงงาน
ข้ามชาติได้ บริการเหล่านี้ต้องเป็นบริการที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ
(๓) จรรยาบรรณทางการค้า หรือมาตรฐานระหว่างประเทศของภาคเอกชนหรือบรรษัท
ข้ามชาติ มีบางคนเรียกว่า Code of Conduct ซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้องกับอนุสัญญาหลักของ ILO มีผล
ผูกพันเฉพาะคู่ค้า หรือผู้ว่าจ้างกับผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อนั้น โดยมีองค์กรเอกชนตรวจประเมิน เช่น
มาตรฐานความรับผิดชอบทางสังคม (Social Accountability ๘๐๐๐ หรือ SA๘๐๐๐)
มาตรฐานจรรยาบรรณของบรรษัทไนกี้ (Nike Code of Ethics)
มาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบในกิจการตัดเย็บเสื้อผ้า (The Worldwide Responsible
Apparel Production-WRAP)
๒.๒ หลักกฎหมายภายในประเทศ มีสาระสำคัญ ดังนี้
(๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
เนื่องจากการดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนและเสนอแนะ
นโยบาย แม้จะมีการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ แต่กว่าจะมีการร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จนมีการประกาศใช้เมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐*
หลักสำคัญเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของแรงงานในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ มีหลายมาตรา เช่น
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๒๙ (วรรคแรก) การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำ
มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้
และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ
ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
* การตรวจสอบและเสนอแนะทั้งหมดที่ดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน และมีรายงานผลการตรวจสอบโดย กสม.
ยึดหลักการ และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
๔๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 42 7/28/08 8:46:38 PM