Page 41 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 41

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน






              	     ๕ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่  ๙๗ ว่าด้วยการอพยพเพื่อการมี
              งานทำ ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ. ๒๔๙๒) และฉบับที่ ๑๔๓ ว่าด้วย การอพยพในสภาพที่ถูกกดขี่และการ
              ส่งเสริมการมีโอกาสเท่าเทียมกันและการปฏิบัติต่อคนงานอพยพ ค.ศ. ๑๙๗๕ (พ.ศ. ๒๕๑๘) แต่
              ประเทศไทยยังมิได้ให้สัตยาบัน มีสาระสำคัญดังนี้
              	     ๑) ค่าตอบแทน
                         ควรทัดเทียมกับค่าตอบแทนที่แรงงานของประเทศได้รับ และสามารถมีผู้แทนเข้าร่วมใน
              การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำได้  ถ้าหากมีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นทั้งค่าจ้างและสวัสดิการอื่นๆ  เช่น
              อาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่ม โดยหักออกจากค่าจ้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐพึงตรวจสอบว่าสัดส่วนระหว่าง
              ค่าจ้างและสวัสดิการนั้นเหมาะสม

              	     ๒) สภาพการทำงาน
                         ควรเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศที่คุ้มครองแรงงานของประเทศ
              	     ๓) ความมั่นคงในการทำงาน
              	     	    ควรเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศที่คุ้มครองแรงงานของประเทศ
              	     ๔) ความก้าวหน้าในการทำงาน
                         แรงงานข้ามชาติพึงมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งเช่นเดียวกันกับที่แรงงาน
              ของประเทศได้รับ

              	     ๕) สุขอนามัยและความปลอดภัย
                         แรงงานข้ามชาติมีความต้องการพิเศษเกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัย ดังนั้นจึง
              ควรมีมาตรการพิเศษคุ้มครองแรงงานให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ และรวมถึงภาวะความเครียดที่เกิดขึ้น
              ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ควรมีการจัดการอบรมด้านอาชีวอนามัยและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบระวังภัยในที่
              ทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติเป็นพิเศษ
              	     ๖) สิทธิด้านสหภาพแรงงาน
                         อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ประกันสิทธินี้ให้กับผู้ทำงานทุกคน แม้ว่าประเทศนั้นจะ
              ไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาทั้งสองก็ตาม  แรงงานข้ามชาติพึงมีสิทธิเช่นเดียวกับแรงงานของ
              ประเทศ โดยเฉพาะสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม เลือกผู้แทนของตน ใช้กลไกการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท

              แรงงาน และได้รับการหารือจากฝ่ายบริหารในสถานประกอบการในเรื่องที่มีผลต่อสภาพการทำงาน
              และเงื่อนไขการจ้างงาน
              	     ๗) การเข้าถึงศาลยุติธรรม
              
     
    แรงงานข้ามชาติต้องสามารถเข้าถึงกลไกศาลยุติธรรมได้เช่นเดียวกับแรงงานของประเทศ
              เมื่อเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับสภาพการทำงาน สิทธิด้านสหภาพแรงงานและความมั่นคง
              ทางสังคม
              	     ๘) การเข้าถึงการจ้างงานและการฝึกฝีมือ

                         แรงงานข้ามชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมพึงได้รับการจ้างงาน และแรงงานเหล่านี้ควรเข้า
              ถึงการฝึกฝีมือแรงงาน เช่นเดียวกันกับแรงงานของประเทศ




                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๔๑





     Master 2 anu .indd   41                                                                      7/28/08   8:46:37 PM
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46