Page 40 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 40

๒
        บทที่






              ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสายหรือชาติกำเนิด หรือ เผ่าพันธุ์กำเนิด ซึ่งมีเจตนาหรือมีผล
              ให้เกิดการระงับหรือกีดกั้นการเคารพสิทธิมนุษยชนและ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลในด้านการเมือง
              เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในด้านอื่นๆ ของการดำรงชีวิตในสังคม รวมทั้งการระงับหรือกีดกั้น
              การใช้สิทธิอย่างเสมอภาคของบุคคล
                         มาตรการพิเศษที่จัดให้มีขึ้นตามความจำเป็น เพื่อประกันให้มีความก้าวหน้าอย่างเพียงพอ
              ในหมู่ชนบางเชื้อชาติ หรือบางเผ่าพันธุ์ เพื่อให้เกิดความเสมอภาค ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
                         ๒.  รัฐภาคีจะประณามการโฆษณาชวนเชื่อทั้งมวลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิด
              เรื่องความเหนือกว่าของชนชาติหรือของกลุ่มบุคคลตามสีผิว หรือเผ่าพันธุ์กำเนิด
                         ๓. รัฐภาคีจะประกันสิทธิของทุกคนให้เสมอภาคกันตามกฎหมายโดยไม่จำแนกเชื้อชาติ

              สีผิว หรือเผ่าพันธุ์กำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้สิทธิในเรื่อง (๑) ความเท่าเทียมในการใช้สิทธิใน
              กระบวนการยุติธรรม (๒) การได้รับสวัสดิภาพและการคุ้มครองโดยรัฐให้รอดพ้นจากความรุนแรงที่
              กระทำต่อชีวิต ร่างกาย (๓) มีส่วนร่วมในสิทธิทางการเมือง การเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะและบริการ
              สาธารณะ ตลอดจนสิทธิพลเมืองและสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เช่น การมีงานทำ
              การเลือกงานโดยเสรี ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม การรวมตัวและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เป็นต้น
              	     (๒.๕) ปฏิญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้น
              ฐานในการทำงาน ซึ่งที่ประชุมใหญ่แรงงานระหว่างประเทศ ได้กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติ

              ตามมาตรฐานแรงงานหลัก ๔ เรื่อง รวมจำนวน ๘ ฉบับ ซึ่งประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญา
              ฉบับที่ ๘๗, ๙๘ และฉบับที่ ๑๑๑ ถึงแม้ว่ายังมิได้ให้สัตยาบันแต่ประเทศสมาชิกต้องมีการปรึกษา
              หารือในรูปแบบไตรภาคี เพื่อจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อ ILO มีสาระสำคัญ ดังนี้
              	     ๑. การห้ามใช้แรงงานบังคับ ได้แก่
              	     	    อนุสัญญาฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ ค.ศ.๑๙๓๐ (พ.ศ. ๒๔๗๓)
                         อนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๕ ว่าด้วยยกเลิกแรงงานบังคับ ค.ศ.๑๙๕๗ (พ.ศ. ๒๕๐๐)
              	     ๒. เสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง ได้แก่
                         อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน
              ค.ศ.๑๙๔๘ (พ.ศ. ๒๔๙๑)

                         อนุสัญญาฉบับที่  ๙๘  ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวกันและการร่วมเจรจาต่อรอง
              ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ. ๒๔๙๒)
              	     ๓. การขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ
                         อนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๐ ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ค.ศ.๑๙๕๑ (พ.ศ. ๒๔๙๔)
                         อนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑ ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ (การจ้างงานและการประกอบอาชีพ)
              ค.ศ.๑๙๕๘
              	     ๔. การขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่ถูกขูดรีดเอาเปรียบ ได้แก่

                         อนุสัญญาฉบับที่ ๑๓๘ ว่าด้วยอายุขั้นต่ำ ค.ศ.๑๙๗๓ (พ.ศ. ๒๕๑๖)
                         อนุสัญญาฉบับที่ ๑๘๒ ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก ค.ศ.๑๙๙๙
              (พ.ศ. ๒๕๔๒)


        ๔๐    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   40                                                                      7/28/08   8:46:35 PM
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45