Page 321 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 321
มาตรการแก้ไขและข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่ตอบ
เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสื่อสิ่ง
พิมพ์แล้วจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย หรือทำให้ระบบ
แรงงานสัมพันธ์เสียหายเสมอไป การดำเนินการใดๆ ที่ก่อ
ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย ฝ่ายนั้นก็สามารถ
ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ แต่มิใช่โดยวิธีทำ
ละเมิดต่อสิทธิสหภาพแรงงาน อันขัดต่อพันธกรณีระหว่าง
ประเทศที่รับรองสิทธิและเสรีภาพในการจัดตั้งสมาคมและ
การรวมกลุ่ม และสิทธิในการดำเนินการของกลุ่มและ
สหภาพแรงงาน
ประการที่สำคัญ กสม.เห็นว่า หากมีกลไกหรือการจัดการ
ความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาจะไม่ลุกลามบาน
ปลาย การที่ลูกจ้างต้องพึ่งพาองค์กรแรงงานระหว่าง
ประเทศ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ก็มักมีสาเหตุมาจากกลไก
การแก้ไขปัญหามีข้อจำกัด ลูกจ้างพึ่งพาไม่ได้หรือกลไก
ดังกล่าวไม่อาจแก้ไขปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมได้
๒. กรณีนี้ก่อผลกระทบหลายประการ กล่าวคือ
(๑) ผู้ถูกร้องสูญเสียลูกจ้างที่มีทักษะฝีมือดีเป็นจำนวน
มาก และยอมรับว่ากระทบต่อการผลิต
(๒) ผู้ร้องและลูกจ้างที่เป็นผู้นำในการจัดตั้ง
สหภาพแรงงาน หรือในการร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน
หางานใหม่ไม่ได้ และลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างยืนยันว่า เมื่อไป
สมัครงานที่บริษัทต่างๆ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
เขตประเวศ กทม. ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดเหตุนี้ เจ้าหน้าที่ของ
บริษัทฯ ที่รับสมัครงานแจ้งว่า ผู้ถูกร้องได้แจ้ง “บัญชีดำ”
ในส่วนของลูกจ้างที่เป็นผู้นำในการคัดค้านการกระทำของผู้
ถูกร้อง แต่ผู้ถูกร้องปฏิเสธว่าไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว
กสม.ให้ความสำคัญกับเรื่องบัญชีดำ เพราะหากเป็น
ความจริง ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เป็นเรื่อง
ยากในการพิสูจน์ เพราะคงไม่มีผู้ใดยอมรับ เว้นแต่จะ
ปรากฏหลักฐานชัดแจ้ง ประกอบกับกรณีนี้ฝ่ายผู้ร้องได้แจ้ง
ข้อมูลและให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน และร้องเรียนต่อ
หลายหน่วยงาน บริษัทที่ผู้ร้องไปสมัครทำงานใหม่จึงอาจ
ทราบข้อมูลดังกล่าวได้
(๓) ลูกจ้างและผู้ร้องได้สมัครงานกับบริษัทต่างๆ
นับจำนวน ๑๐ บริษัท แต่ลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่ได้งานทำ
ทำให้ลูกจ้างต้องสมัครงานนอกเขตอุตสาหกรรมดังกล่าว
แต่ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ต่ำกว่าเดิม และชีวิตการ
เป็นลูกจ้างต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ บางส่วนต้องรับงานมาทำที่
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๒๑
Master 2 anu .indd 321 7/28/08 9:23:43 PM