Page 320 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 320

ภาค
       ผนวก

        ๒     กรณีตัวอย่างผลตอบรับตามมาตรการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย





                        มาตรการแก้ไขและข้อเสนอแนะ                        หน่วยงานที่ตอบ
               	 ดังนั้น ผู้ถูกร้องควรหามาตรการทั้งในระบบงาน กลไก
               และ เทคโนโลยีในการตรวจสอบ และควรดำเนินการควบคู่
               กับการสื่อสารกับลูกจ้างเพื่อความเข้าใจร่วมกัน  โดย
               เปิดโอกาสให้ลูกจ้างหรือองค์กรของลูกจ้างมีส่วนร่วม ทั้ง
               ในการกำหนดมาตรการการค้นตัวและการป้องกันมิให้
               ทรัพย์สินของผู้ถูกร้องสูญหายด้วย
               การเลิกจ้าง
               	 กรณีผู้ร้องและลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงาน เพื่อไปร้องเรียน
               ต่อเจ้าพนักงานกระทรวงแรงงาน อันเนื่องจากการตรวจค้น
               ร่างกายเพื่อค้นหาทรัพย์สิน จนถูกเลิกจ้างในข้อหาละทิ้ง
               หน้าที่และจงใจทำให้ผู้ถูกร้องได้รับความเสียหาย นั้น
                 แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างมิได้ลากิจให้ถูกต้อง
               ตามระเบียบ ก็อาจจะถือได้ว่าลูกจ้างหาได้มีเจตนาละทิ้ง
               หน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ เพราะ
               ลูกจ้างเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องให้เจ้า
               พนักงานของรัฐเข้าไปแก้ไขปัญหา  และมีหลักประกันใน
               เรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลของลูกจ้าง กรณีนี้ผู้ร้องและลูกจ้าง
               ควรลากิจให้ถูกต้อง และแม้ว่าการลากิจจะได้ระบุเหตุผล
               ว่าเพื่อร้องเรียนต่อเจ้าพนักงาน  แต่ผู้ถูกร้องไม่อนุมัติ
               การลา ก็ถือได้ว่าเป็นกิจธุระอันจำเป็นและมีเหตุอันสมควร
               ลูกจ้างจึงมีสิทธิหยุดงานไปร้องเรียนได้
                 ดังนั้น กสม.จึงใคร่เรียกร้องต่อผู้ถูกร้องและเจ้าพนักงาน
               ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ให้ตระหนักใน
               เรื่องมูลเหตุแห่งปัญหาหรือข้อขัดแย้ง และวิธีการในการ
               จัดการความขัดแย้ง โดยเห็นว่าน่าจะมีมาตรการอื่นๆ ที่
               มิใช่การเลิกจ้าง
               	 มาตรการรณรงค์ต่อสื่อมวลชนและองค์กรแรงงาน
               ในต่างประเทศของสหภาพฯ
                 ๑.  ฝ่ายนายจ้างและเจ้าพนักงานของรัฐในกระทรวง
               แรงงานมักวิตกกังวลกรณีที่ลูกจ้างใช้มาตรการเคลื่อนไหว
               และประสานความร่วมมือกับองค์กรแรงงานระหว่าง
               ประเทศ หรือการรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลต่อสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
               ว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
               และทำให้แรงงานสัมพันธ์เสียหาย
                 กสม.เห็นว่า จะต้องจำแนกแยกแยะระหว่างการเคารพ
               และปฏิบัติตามสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง
               การสื่อสารข้อมูลต่างๆ  ต่อสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อมวลชน
               กับประเด็นการจงใจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งมิใช่ว่า


        ๓๒๐  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   320                                                                     7/28/08   9:23:43 PM
   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325