Page 315 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 315
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเรือประมงประภาสนาวี ๑-๖ เป็นตัวอย่างหนึ่งในปัญหาเชิงนโยบายของรัฐบาลในการรองรับ
ตลาดแรงงานภายในประเทศทั้งระบบ และโดยเฉพาะต่อกิจการประมงทะเลและธุรกิจที่ต่อเนื่องจากกิจการ
ประมงทะเล เนื่องจากเป็นกิจการที่มีความต้องการแรงงานมาก ในขณะที่แรงงานภายในประเทศไม่ทำงานใน
กิจการดังกล่าว รัฐบาลจึงต้องเปิดรับแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาวและกัมพูชา
สถานการณ์ปัญหาที่มีลักษณะร่วมกันคือ แรงงานส่วนใหญ่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ไม่ได้รับ
การคุ้มครองแรงงาน ทำงานที่เสี่ยงอันตรายและขาดการเตรียมความพร้อมก่อนลงเรือ ไม่มีหลักประกันด้าน
สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน และเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมของไทย
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย ต่อรัฐบาล ดังนี้
๑. ให้ยกเลิก กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ไม่คุ้มครองกิจการประมงทะเล ที่มีลูกจ้างน้อยกว่า ๒๐ คน และเรือประมงที่
ไปดำเนินกิจการนอกน่านน้ำไทยเป็นเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป และให้กำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้
การคุ้มครอง ลูกจ้างในกิจการประมงทะเลทั้งในและนอกน่านน้ำให้ได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิแรงงาน และ
ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของลักษณะกิจการประมงทะเล
๒. ให้รัฐบาลทบทวนกฎหมายและมาตรการบริหารของรัฐเกี่ยวกับการประกอบกิจการประมง
ทะเลทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำ ในเรื่องการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการประมงทะเล ระบบข้อมูล
เกี่ยวกับลูกเรือ การบริหารและการบังคับใช้กฎหมายด้านแรงงาน การจัดระบบการเข้าออกของเรือประมง
ที่ไปทำงานนอกน่านน้ำ เช่น เพิ่มโทษกรณีทุจริต หรือฝ่าฝืนพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.๒๔๘๑
ทั้งนี้ ในกิจการประมงทะเลนอกน่านน้ำ ให้รัฐบาลผ่อนผันเวลาการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกับสภาพ
งานในกิจการประมงทะเล
๓. ปรับปรุงระบบการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับกิจการประมงทะเลให้เกิดประสิทธิภาพและมี
ความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
- การออกหนังสือคนประจำเรือ(Seaman Book)เพื่อให้ทราบว่าลูกเรือเป็นใครและป้องกันมิให้มีการ
ทุจริตเกี่ยวกับหนังสือคนประจำเรือ
- การจัดทำเอกสารรายการประทับตราหนังสือเรือเข้าออกนอกน่านน้ำไทย เพื่อให้ทราบข้อมูลการนำ
เรือเข้าและออกจากน่านน้ำไทยเมื่อใด เพื่อบันทึกการเข้าและออกของเรือ
- การคุ้มครองค่าจ้าง สวัสดิการแรงงาน และผลตอบแทนพิเศษ ตลอดจนการคุ้มครองเรื่องสุขภาพ
และความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกเรือให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานของไทย และมาตรฐานแรงงาน
ระหว่างประเทศที่รัฐบาลไทยให้สัตยาบันแล้ว
๔. รัฐบาลควรมีมาตรการในการคุ้มครองหรือเยียวยาแก่ลูกเรือหรือทายาทของลูกเรือ ใน
กรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุเจ็บป่วยล้มตายดังที่ปรากฏตามคำร้องนี้ และไม่ว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
หรือไม่ก็ตาม เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐเกิดการประสานเชื่อมโยงในการทำงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาใน
ลักษณะบูรณาการและอำนวยความยุติธรรมแก่ลูกเรือ ทายาทของลูกเรือหรือครอบครัวและประชาชน
โดยไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติ โดยไม่ผลักภาระให้แรงงานข้ามชาติหรือประชาชน ต้องไปใช้สิทธิตาม
กระบวนการยุติธรรมเสียก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ
ภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ดำเนินการเร่งด่วนที่จังหวัด
สมุทรสาคร และขยายไปสู่จังหวัดชายทะเลอื่นๆ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๑๕
Master 2 anu .indd 315 7/28/08 9:23:37 PM