Page 314 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 314
กับหน่วยงานตำรวจ มักจะได้รับคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่เสมอว่า หากมีแรงงาน
ข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่ต้องการใช้สิทธิตามกฎหมาย ให้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หน่วยงานมีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวอยู่แล้ว แสดงให้เห็นว่าคำชี้แจงดังกล่าวไม่มีผลในทางปฏิบัติ
(๕). แม้จังหวัดสมุทรสาครจะได้ตั้งคณะทำงานการช่วยเหลือลูกเรือประมงประภาสนาวี ๑-๖ โดยมี
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร (นายชาญวิทย์ วสยางกูร) เป็นประธานคณะทำงานและมีหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว แต่ก็แก้ไขความเดือดร้อนของลูกเรือได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
เนื่องจากติดขัดทางด้านข้อกฎหมายและนโยบายหลายประการ กล่าวคือ
๑) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง นอกจากมีอำนาจหน้าที่อนุญาตให้คนเข้าเมืองตามช่องทางปกติ
แล้ว ยังมีอำนาจตรวจสอบการเข้า-ออก ของเรือ หรือพาหนะที่เข้า-ออกนอกราชอาณาจักร และกรม
การขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี มีหน้าที่ตรวจสอบคนในเรือประมง ที่เข้า-ออกราชอาณาจักร จึงต้อง
ประสานงานกัน ให้ชื่อคนในเรือประมงตรงกับชื่อของหนังสือคนประจำเรือ และต้องมีการประทับตราใน
หนังสือรายการเพื่อเดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักรด้วย
๒) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร ต้องสอบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิตของลูกเรือ กรณีที่
มีการเสียชีวิตของบุคคลในเรือประมงสัญชาติไทย แม้ผู้ตายจะได้เสียชีวิตนอกน่านน้ำไทย และไม่สามารถหา
ศพมาได้ เพราะศพบางส่วนได้โยนลงทะเลก็ตาม แต่ปรากฏว่าลูกเรือประภาสนาวี ๑ คน ได้เสียชีวิตภายหลัง
ขึ้นฝั่งแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสมุทรสาครจะอ้างว่า ไม่ต้องสอบสวนกรณีนี้ เพราะเหตุตาม
กฎหมาย ๕ ประการนั้น เห็นว่า ข้ออ้างดังกล่าวหมายถึง การต้องทำการชันสูตรพลิกศพ เมื่อมีการตายโดย
ผิดธรรมชาติ ซึ่งเมื่อไม่มีศพก็ไม่สามารถชันสูตรได้ แต่กรณีนี้มีการเสียชีวิตบนเรือ ที่มิใช่เป็นความผิดต่อ
ส่วนตัว ไม่ต้องมีผู้ใดร้องทุกข์ จึงควรมีการสอบสวนว่าสาเหตุการเสียชีวิต เกิดจากอะไร และใครต้องรับผิดชอบ
(๖). พฤติการณ์การจ้างแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และมีการใช้หนังสือคน
ประจำเรือของคนไทย (ที่เรียกว่า “สวม”) มีการปฏิบัติกันแพร่หลายในกลุ่มผู้ประกอบการ มิใช่เฉพาะกลุ่มเรือ
ประมงประภาสนาวี เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ในกิจการประมงทะเลไม่ว่าในหรือนอกน่านน้ำ มีปัญหา
ขาดแคลนแรงงานไทยเป็นอันมาก
แต่ทั้งระดับจังหวัดสมุทรสาครและระดับชาติ ยังไม่มีนโยบายหรือแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจ้าง
แรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยต้องการแรงงานข้ามชาติในกิจการดัง
กล่าวจำนวนเท่าใด จะมีระบบในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการจ้างงานโดยผิดกฎหมายหรือโดย
ทุจริตได้อย่างไร จะบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสิทธิภาพในการตรวจสอบได้อย่างไร และจะต้อง
มีแนวทางในเรื่องของทักษะฝีมือและระบบการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างไร
เนื่องจากกิจการประมงทะเลเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ มติคณะรัฐมนตรีที่ผ่อนผันให้มีการจ้างงานแรงงานข้ามชาติคราวละ ๑ ปี แต่กิจการ
ประมงทะเลนอกน่านน้ำ มักจะประกอบกิจการหรือทำงานกันคราวละไม่น้อยกว่า ๓ - ๕ ปี เห็นได้ว่ามติของ
คณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานในกิจการประมงทะเลนอกน่านน้ำ อีกประการ
หนึ่งไม่ว่ากิจการประมงทะเลนอกหรือในน่านน้ำ ในการจ้างงานมักจะมีการตกลงกันในเรื่องค่าจ้างตาม
สัดส่วนของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ (ที่นิยมเรียกกันว่า “กินส่วน”) โดยมีระยะเวลาในการจ่ายค่าจ้างดังกล่าว
เป็นระยะเวลาที่มากกว่า ๑ ปี ก็มี เช่น ๒๐ เดือน หรือ ๒๔ เดือน เป็นต้น การผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ
ทำงานได้คราวละ ๑ ปี จึงไม่สอดคล้อง
๓๑๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 314 7/28/08 9:23:37 PM