Page 310 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 310

และความปลอดภัย ดังนั้นจึงควรมีมาตรการพิเศษคุ้มครองแรงงานให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บและรวมถึงภาวะ
              ความเครียดที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมใหม่ ควรมีการจัดการอบรมด้านอาชีวอนามัย และให้ความรู้เกี่ยวกับ
              ระบบระวังภัยในที่ทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติเป็นพิเศษ
              	     	 ๖) สิทธิด้านสหภาพแรงงาน อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ประกันสิทธินี้ให้กับผู้ทำงานทุก
              คน แม้ว่าประเทศนั้นจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาทั้งสองก็ตาม แรงงานข้ามชาติพึงมีสิทธิเช่นเดียวกับ
              แรงงานของประเทศ โดยเฉพาะสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม เลือกผู้แทนของตน ใช้กลไกการไกล่เกลี่ยข้อ
              พิพาทแรงงาน และได้รับการหารือจากฝ่ายบริหารในสถานประกอบการในเรื่องที่มีผลต่อสภาพการทำงาน
              และเงื่อนไขการ จ้างงาน
              	     	 ๗) การเข้าถึงศาลยุติธรรม แรงงานข้ามชาติต้องสามารถเข้าถึงกลไกศาลยุติธรรมได้เช่นเดียว
              กับแรงงานของประเทศเมื่อเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับสภาพการทำงาน  สิทธิด้าน
              สหภาพแรงงานและความมั่นคงทางสังคม
              	     	 ๘) การเข้าถึงการจ้างงานและการฝึกฝีมือ แรงงานข้ามชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมพึงได้รับการ
              จ้างงานงานใดๆ ก็ได้ และแรงงานเหล่านี้ควรเข้าถึงการฝึกฝีมือแรงงานเช่นเดียวกันกับแรงงานของประเทศ
              	     	 ๙) เสรีภาพในการเดินทาง แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศอย่างถูกกฎหมาย ควรมีเสรีภาพที่
              จะเดินทางไปในที่ต่างๆ ภายในประเทศที่ตนทำงานอยู่ ยกเว้นแต่เฉพาะสถานที่ที่แรงงานของประเทศก็ถูก
              จำกัดสิทธิเช่นกัน
              	     	 ๑๐) การส่งเงินกลับบ้าน แรงงานข้ามชาติพึงมีสิทธิที่จะส่งเงินกลับ (ภายในจำนวนที่กฎหมาย
              อนุญาต) และเก็บเงินได้
                      ๑๑) การเยี่ยมบ้านและครอบครัวมาเยี่ยม
                      ๑๒) บริการให้คำปรึกษาต่างๆ
                      เพื่อช่วยแรงงานข้ามชาติปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดำรงชีวิต การได้รับสวัสดิการ
              ต่างๆ จากหน่วยงานรัฐโดย จัดให้บริการโดยบุคคลที่สามารถสื่อสารในภาษาของแรงงานข้ามชาติได้ บริการ
              เหล่านี้ต้องเป็นบริการที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ

              	     	 ๕. ข้อจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                      (๑) เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐
              (พ.ศ.๒๕๔๑) ไม่บังคับใช้กับกิจการประมงทะเล ที่มีลูกจ้างน้อยกว่า ๒๐ คน และเรือประมงที่ไปดำเนิน
              กิจการนอกน่านน้ำไทยเป็นเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
                      (๒) กรณีลูกเรือไม่มีหนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) ซึ่งตามพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.
              ๒๔๘๑ กำหนดโทษไว้เพียงกักเรือไว้ และให้เจ้าของเรือมาดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง โดยอยู่ในความรับผิด
              ชอบของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี ส่วนเรื่องเรือประมงทะเลประกอบกิจการนอกน่านน้ำ อยู่ใน
              ความรับผิดชอบของกรมประมง
                      การฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารเพื่อประกอบกิจการประมงทะเล โทษตามกฎหมาย
              มีเพียงโทษปรับ ๕๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ บาท ซึ่งเจ้าของเรือบางลำยอมถูกปรับ
                      (๓) กรณีตามคำร้องนี้มีปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ที่เกิดขึ้นในเรือประมง
              ทะเลนอกน่านน้ำของไทยหรือกรณีเกิดเหตุการตายในเรือประมงทะเลซึ่งประกอบกิจการนอกน่านน้ำไทย
              กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นจังหวัดที่เรือออกจากท่าไปประกอบกิจการนอกน่านน้ำ
              จะมีอำนาจดำเนินการสอบสวนคดีอาญาหรือไม่ พล.ต.ต. สุชีพ หนูนาง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗
              ชี้แจงว่า กรณีนี้อาจขออนุมัติต่อสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อสอบสวนคดี แต่ต้องมีการบันทึกข้อเท็จจริงจาก
              ผู้เกี่ยวข้องเป็นหนังสือเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการสั่งการของสำนักงานอัยการสูงสุด

        ๓๑๐  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   310                                                                     7/28/08   9:23:36 PM
   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315