Page 313 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 313
๔ ข้อจำกัดและข้อบกพร่องของหน่วยงานรัฐ
(๑) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี
หน่วยงานนี้เป็นผู้ออกเอกสารคนประจำเรือ (Seaman Book) ให้กับแรงงานที่จะต้องออกเรือ แต่กลับมี
การปลอมแปลงเอกสารได้อย่างง่ายดาย โดยเจ้าหน้าที่ไม่มีมาตรการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
จากการตรวจสอบของสภาทนายความ พบว่า เรือประภาสนาวีได้แจ้งหยุดการใช้เรือไปแล้ว กรณีที่
เรือประภาสนาวีเข้าและออกนอกราชอาณาจักร กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี แจ้งว่าไม่ทราบเรื่อง
เนื่องจากไม่มีการขออนุญาตต่อหน่วยงาน เป็นที่น่าสังเกตว่า การไปทำงานต่างประเทศ เรื่องเอกสารต้องมี
ความพร้อม เนื่องจากประเทศปลายทางจะต้องมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด แต่กลับมีการสวมเอกสาร
และไม่แจ้งการดำเนินการใด ๆ ในการออกเรือ หรือ กรณีที่ปฏิเสธว่า ไม่มีเรือมาขออนุญาตเลยสักลำ ทั้ง ๆที่
จังหวัดสมุทรสาครขึ้นชื่อว่า มีคาราวานเรือที่ใหญ่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และจากการสอบถาม
ลูกเรือประภาสนาวี ไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปตรวจสอบบุคคลหรือเอกสารใด ๆ เลย
(๒) กรมการจัดหางาน
เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงแรงงานในด้านการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวหรือแรงงาน
ข้ามชาติ แต่ไม่มีข้อมูลแรงงานที่ทำงานเรือประมงทะเลเลย จึงไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ
ทั้งแรงงานไทย และแรงงานข้ามชาติที่เดินทางไปกับเรือได้เลย ทั้งๆ ที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มี
อุตสาหกรรมหลักด้านการประมงทะเล
(๓) ตำรวจน้ำ จังหวัดสมุทรสาคร กองบังคับการตำรวจน้ำ
เจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการฯ ว่า ไม่ทราบเรื่องการเข้าออกของเรือประภาสนาวี และ
การเสียชีวิตของลูกเรือในน่านน้ำไทยบริเวณเขาสามร้อยยอดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันในหมู่ประชาชนโดยทั่วไปว่า การส่งคนลงเรือของกลุ่มเรือประมงทะเล
นอกน่านน้ำในกรณีที่ฝากลูกเรือไปกับเรือแม่ โดยเรือแม่จะไปจอดรอที่บริเวณปากอ่าวแล้วให้เรือเล็กรับ
ลูกเรือจากฝั่งไปส่งที่เรือแม่ เชื่อได้ว่าส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่มีทั้งที่สมัครใจและ
ถูกหลอกลวงให้ไปทำงาน แต่ไม่ปรากฏว่ามีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพ
(๔) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการใช้สิทธิ กรณีนี้มีแรงงานชาวพม่า
บางส่วนที่ไม่มีเอกสารการเข้าเมือง ถูกจับและดำเนินคดีข้อหาหลบหนีเข้าเมืองและถูกส่งกลับ โดยผู้ร้องได้
ประสานไปยังสภาทนายความเพื่อขอความช่วยเหลือ และได้ประสานไปยังสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาคร ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาคร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อขออายัดตัว
แรงงานที่ถูกจับ ไว้เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องค่าแรงที่นายจ้างค้างจ่ายแล้วค่อยส่งตัวกลับ
ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครได้ส่งแรงงานข้ามชาติไป
ยังสำนักงานตรวจคนตรวจคนเข้าเมือง เพื่อส่งกลับประเทศต้นทาง นอกจากนี้ยังมีกรณีลูกเรือข้ามชาติ
จำนวน ๒ คน ที่ไม่มีเอกสารการเข้าเมือง ก็ถูกจับกุมอีกในสภาพร่างกายที่อ่อนเพลีย เสียการทรงตัว และ
เมื่อกดตามร่างกายจะเป็นรอยบุ๋มอีกเป็นชุดที่ ๒ ทางผู้ร้องก็ได้ประสานไปยังสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาครเพื่อขออายัดตัวแรงงานที่ถูกจับกุมอีกครั้ง เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือในการ
เรียกร้องค่าแรงที่นายจ้างค้างจ่าย และค่ารักษาพยาบาลแล้วค่อยส่งตัวกลับ แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังคงปฏิบัติเช่น
เดิมหลังจากนั้น ประมาณ ๑ เดือน ลูกเรือทั้งสองก็ขอกลับประเทศต้นทางเอง เนื่องจากทนอาการป่วยไม่ไหว
จากการประชุมหรือสัมมนาร่วมกันระหว่างคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน หรือเครือข่ายภาคประชาชน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๑๓
Master 2 anu .indd 313 7/28/08 9:23:37 PM