Page 312 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 312
ข้อเท็จจริงว่า ลูกเรือถูกละเมิดทั้งในเรื่องค่าจ้างและการคุ้มครองแรงงาน หลักประกันสุขภาพและความ
ปลอดภัยในการทำงาน และสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของลูกเรือ
ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากเจ้าของเรือประภาสนาวีสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และระหว่างการรอสัญญา
สัมปทาน เรือไม่สามารถจอดเทียบท่าที่ประเทศอินโดนีเซียได้ จึงลอยลำนอกน่านน้ำ ขณะเดียวกันก็ต้องรอ
การประสานงานจัดส่งน้ำมันสำหรับเดินทางกลับ และมิได้จัดเรือนำอาหาร ผักและเสบียงไปส่งให้ลูกเรือ
ทำให้ลูกเรือได้รับอาหารไม่ครบหมู่ตามความต้องการของร่างกาย จนเมื่อไม่สามารถต่อสัมปทานได้แน่นอน
แล้วจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทย ประกอบกับความหละหลวมในเรื่องการจัดทำข้อมูลและเอกสาร
ประจำเรือ ซึ่งลูกเรือส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย น่าเชื่อว่ามีการปลอมแปลงหนังสือคน
ประจำเรือ ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการ ฯ ว่า กรณีนี้น่าเชื่อ
ว่าเป็นการสวมสิทธิ เนื่องจากจังหวัดสมุทรสาครไม่มีการออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่แรงงานข้ามชาติ
รายใดเลย จึงเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์น่าสลดใจตามคำร้องนี้
จากการตรวจร่างกายลูกเรือของแพทย์โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร ให้ความเห็นว่า ขาดวิตามิน
บี ๑ ขั้นรุนแรง ทำให้ลูกเรือไม่มีแรง ร่างกายโทรม ตาเหลือง ขาบวม เมื่อเอานิ้วกดลงตามกล้ามเนื้อบริเวณ
ขาจะเป็นรอยบุ๋มไม่คืนรูป การทรงตัวไม่เป็นปกติ และอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต จำนวน ๓๙ คน และ
เจ็บป่วยจำนวนมาก
ลูกเรือที่เสียชีวิต ๒ คนแรก เพื่อนๆ ได้นำเข้าไปฝังไว้บนเกาะแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย ลูกเรือที่
เจ็บป่วยได้ทยอยเสียชีวิต และได้นำศพทิ้งลงไปในทะเล เนื่องจากไม่สามารถนำศพไว้บนเรือได้ เมื่อเรือได้
เดินทางเข้ามาประเทศไทย ปรากฏว่านายจ้างได้รับผิดชอบจ่ายค่าชดเชย ค่าทำศพให้ลูกจ้างบางคน แต่ไม่
รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายด้านการรักษาผู้เจ็บป่วย ไม่จ่ายค่าจ้าง หรือค้างการจ่ายค่าจ้างที่เหลือ ไม่ช่วยเหลือ
ค่าทำศพแก่ลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
๒. ลูกเรือหรือลูกจ้างจะต้องได้รับการคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายแรงงาน ทั้งในเรื่องค่าจ้างและ
สวัสดิการต่าง ๆ กรณีเจ็บป่วย ประสบอันตรายหรือเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน ซึ่งต้องได้รับการดูแลจาก
นายจ้างในเรื่องการรักษาพยาบาล ค่าทดแทนการขาดรายได้ และค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเสีย
ชีวิต ตลอดจนค่าจัดการศพ นายจ้างต้องรับผิดชอบจ่ายเงินทดแทนให้ทายาท หรือลูกจ้างนั้น ลูกเรือประมง
ประภาสนาวี ทั้งชาวไทยและชาวพม่านั้น ถือว่าเป็นลูกจ้างที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน
แต่เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๔๑) ไม่บังคับใช้
กับกิจการประมงทะเล ที่มีลูกจ้างน้อยกว่า ๒๐ คน และ เรือประมงที่ไปดำเนินกิจการนอกน่านน้ำไทยเป็น
เวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปทำให้ลูกเรือหรือทายาทไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ แม้ว่าลูกเรือหรือทายาทได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เจ้าหน้าที่ก็
มีคำสั่งไม่รับคำร้อง จนลูกเรือต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ทำให้เป็นภาระมากยิ่งขึ้น
๓. เกี่ยวกับกิจการประมงทะเลนอกน่านน้ำ มีความเกี่ยวพันกับกฎหมายหลายฉบับ กล่าวคือ
พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. ๒๔๘๑ และแก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ ความปลอดภัยของ
เรือ หนังสือคนประจำเรือ และใบอนุญาตการควบคุมเรือ เป็นต้น พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.๒๔๘๑ เกี่ยว
กับการทำสัญญาลูกเรือ อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจและฝ่ายปกครองในการกักเรือหากไม่ปฏิบัติตาม
กฎหมาย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ เกี่ยวกับการตรวจสอบคนประจำเรือและการเข้าและ
ออกของเรือ และพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ และแก้ไขเพิ่มเติม
๓๑๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 312 7/28/08 9:23:36 PM