Page 311 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 311
๖. การดำเนินคดีของผู้ร้องและลูกเรือประภาสนาวี
ผู้ร้อง คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) และสภาทนายความ ได้ช่วยเหลือทาง
ด้านกฎหมายแก่ลูกเรือประภาสนาวี โดยการฟ้องเจ้าของเรือประภาสนาวีในฐานะนายจ้างต่อศาลแรงงาน
กลางสมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ลูกเรือที่เป็นโจทก์ จำนวน ๖๑ คน ประกอบด้วย ลูกเรือที่เป็น
แรงงานไทย ๑๗ คน และลูกเรือที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ๔๔ คน เพื่อเรียกเงินค่าจ้างค้างจ่าย เงินเพิ่มกรณี
จงใจไม่ชำระค่าจ้าง ค่าตอบแทนพิเศษจากการขายปลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าว
ล่วงหน้า ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าสินไหมจากการจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่อ ก่อเกิดความเสียหายทั้งร่ายกาย จิตใจ และอนามัย และค่าเสียหายอื่นๆ รวมจำนวนเงินที่
ฟ้องศาลทั้งสิ้น ๑๕,๘๙๔,๖๑๐ บาท คดีอยู่ในระหว่างสืบพยาน
ก่อนที่จะเริ่มสืบพยานในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ผู้ร้องแจ้งว่า ศาลแรงงานกลาง (สมุทรสาคร) ได้
ไกล่เกลี่ยคู่ความรวม ๔ นัด สรุปความได้ว่า นายจ้างไม่ยอมรับว่าลูกเรือจำนวน ๗ คนเป็นลูกจ้างของตน ใน
ส่วนของลูกเรือจำนวน ๕๔ คนนั้น มียอดค้างจ่ายค่าจ้างจริงประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ บาท ลูกเรือเบิกเงินไป
แล้วจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท คงเหลือยอดเงินที่ค้างชำระเพียง ๔๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมามีการเจรจาต่อรองกัน
โดยนายจ้างเพิ่มยอดเงินให้จำนวน ๑,๒๒๐,๐๐๐ บาท (เฉลี่ยคนละ ๒๐,๐๐๐ บาท) โดยแบ่งชำระเป็นสี่งวด
ฝ่ายลูกเรือเห็นว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก จึงไม่ตกลง ศาลจึงได้นัดสืบพยานต่อไป
นอกจากนี้ ลูกเรือได้ฟ้องเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ที่มี
คำสั่งยกคำร้องของลูกเรือ ซึ่งได้ร้องทุกข์เรื่องค่าจ้างค้างจ่าย โดยเจ้าพนักงานอ้างว่าเป็นไปตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๒ (๒) ที่ไม่
บังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กับกิจการประมงทะเลที่ประจำอยู่นอกราชอาณาจักร
ติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
ความเห็นและมติของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
เนื่องจากประเด็นดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งคณะอนุกรรมการ
สิทธิแรงงานไม่มีอำนาจตรวจสอบ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒๒ ความว่า “ในกรณีที่มีการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและ มิใช่
เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้คณะกรรมการมี
อำนาจตรวจสอบและเสนอมาตรการแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้” ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการสิทธิ
แรงงาน ครั้งที่ ๓๓ /๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๐ ให้ยุติการตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม สภาพปัญหาตามคำร้องนี้ มีทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติที่ประสบชะตากรรม
จนถึงแก่ชีวิต จำนวน ๓๙ ศพ แรงงานไม่ได้รับการคุ้มครองหรือดูแลเช่นที่มนุษย์พึงได้รับ เป็นเรื่องที่กระทบ
ต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย สิทธิในด้านสุขภาพและความปลอดภัยอันเนื่องจากการทำงาน และสิทธิ
แรงงานขั้นพื้นฐาน ตลอดจนมีปัญหาทั้งในด้านนโยบาย กฎหมาย และการบริหารจัดการของหน่วยงาน
ภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ จึงเห็นควรให้จัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อเสนอ
แนะเชิงนโยบาย
ข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ได้พิจารณาคำร้อง คำชี้แจงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องแล้ว
มีข้อสังเกตดังนี้
๑. กรณีลูกเรือประภาสนาวีทั้งชาวไทยและชาวพม่าจำนวน ๖ ลำ จำนวนกว่า ๑๐๐ คน ได้ออกไปหา
ปลาในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย เป็นเวลาเกือบ ๓ ปี ก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยปรากฏ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๑๑
Master 2 anu .indd 311 7/28/08 9:23:36 PM