Page 309 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 309

๒.๒ อนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง “สิทธิอื่นๆ ของแรงงานข้ามชาติและครอบครัว” ข้อ ๓๖ ถึง ๕๖
              ประกอบด้วย
                      (๑) สิทธิที่จะได้รับทราบเงื่อนไขโดยครบถ้วนบริบูรณ์ ของการจ้างงานและการไปอยู่อาศัยในรัฐ
              ประเทศที่จะเข้าไปทำงาน โดยที่รัฐของตนหรือรัฐที่ตนจะไปทำงานเป็นผู้แจ้งให้ทราบ
                      (๒) รัฐที่จ้างงานประกันว่า การที่แรงงานข้ามชาติและครอบครัวไปอยู่เป็นการชั่วคราวจะไม่มีผล
              ต่อการอยู่ในรัฐนั้นๆ และการจ้างงาน
                      (๓) สิทธิของแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ในเสรีภาพในการเคลื่อนไหวในรัฐที่มีการจ้างงาน
                      (๔)  ทั้งรัฐที่คนงานมีสัญชาติและรัฐที่จ้างงาน  ควรจัดตั้งสถาบันเพื่ออำนวยความสะดวกตาม
              ความจำเป็น ความต้องการ และพันธกรณีที่มีต่อแรงงานข้ามชาติและครอบครัว
                      (๕)  แรงงานข้ามชาติและครอบครัว  ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับพลเมืองของรัฐที่
              จ้างงานในเรื่องของการศึกษา ที่อยู่อาศัย บริการทางสุขภาพและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรม
                      (๖) รัฐภาคีมีหน้าที่คุ้มครองการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวของแรงงานข้ามชาติ และอำนวยความ
              สะดวกให้คู่สมรสของแรงงานข้ามชาติได้มาอยู่ร่วมกัน
                      (๗) แรงงานข้ามชาติมีสิทธิที่จะโยกย้ายเงินค่าจ้างและเงินออมจากรัฐที่จ้างงาน
                      (๘) แรงงานข้ามชาติไม่ต้องรับภาระในการจ่ายภาษีและภาษีศุลกากร ที่สูงกว่าหรือหนักกว่าคนใน
              ชาติที่จ้างงาน
                      (๙) ในกรณีที่แรงงานข้ามชาติต้องได้รับอนุญาตให้มีที่อยู่อาศัยในประเทศจ้างงานได้ ประเทศที่
              จ้างงานจะต้องอนุญาตให้แรงงานข้ามชาติมีที่อยู่อาศัยได้ อย่างน้อยเท่ากับระยะเวลาของการจ้างงาน
                      (๑๐) สิทธิของแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ในการจัดตั้งสมาคมหรือสหภาพแรงงานในรัฐที่จ้าง
              งานเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและผลประโยชน์อื่นๆ
                      แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เลือกสภาพการจ้างงานจะต้องไม่สูญเสียใบอนุญาตให้มีที่อยู่
              ในประเทศที่จ้างงานในกรณีที่การจ้างงานสิ้นสุดก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในรัฐที่จ้างงาน
                      (๑๒) มีสิทธิในการเลือกงานโดยเสรีโดยปฏิบัติตามข้อบังคับของรัฐที่มีจ้างงาน
                      (๑๓) ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับพลเมืองของรัฐที่จ้างงานในเรื่องการได้รับความคุ้มครองกรณี
              ถูกเลิกจ้าง ผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างและมีส่วนร่วมในแผนการสร้างงานของรัฐเพื่อขจัดการว่างงาน
                      (๑๔)  แรงงานข้ามชาติและครอบครัวจะไม่ถูกเนรเทศ  นอกเสียจากด้วยเหตุผลที่กำหนดใน
              กฎหมายแห่งชาติของรัฐที่จ้างงานและจะต้องได้รับการป้องกัน

              	     ๒.๓ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๙๗ ว่าด้วยการอพยพเพื่อการมีงานทำ
              พ.ศ. ๒๔๙๒ และฉบับที่ ๑๔๓ ว่าด้วย การอพยพในสภาพที่ถูกกดขี่และการส่งเสริมการมีโอกาสเท่า
              เทียมกันและการปฏิบัติต่อคนงานอพยพ พ.ศ. ๒๕๑๘ (ประเทศไทยยังมิได้ให้สัตยาบัน) มีสาระสำคัญ ดังนี้
              	     	 ๑) ค่าตอบแทน ควรทัดเทียมกับค่าตอบแทนที่แรงงานของประเทศได้รับ และสามารถมีผู้แทน
              เข้าร่วมในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำได้ ถ้าหากมีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นทั้งค่าจ้างและสวัสดิการอื่นๆ เช่น
              อาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่ม โดยหักออกจากค่าจ้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐพึงตรวจสอบว่าสัดส่วนระหว่างค่าจ้าง
              และสวัสดิการนั้นเหมาะสม
              	     	 ๒) สภาพการทำงาน ควรเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศที่คุมครองแรงงานของประเทศ
              	     	 ๓) ความมั่นคงในการทำงาน ควรเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศที่คุ้มครองแรงงานของประเทศ
              	     	 ๔) ความก้าวหน้าในการทำงาน แรงงานข้ามชาติพึงมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง
              เช่นเดียวกันกับที่แรงงานของประเทศได้รับ
              	     	 ๕) สุขอนามัยและความปลอดภัย แรงงานข้ามชาติมีความต้องการพิเศษเกี่ยวกับสุขอนามัย

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๐๙





     Master 2 anu .indd   309                                                                     7/28/08   9:23:35 PM
   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314