Page 307 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 307

สิบห้าปี และบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองของเด็กนั้นทำงานอยู่ในเรือประมงนั้นด้วย หรือบิดาหรือมารดา
              หรือผู้ปกครองของเด็กนั้นให้ความยินยอมเป็นหนังสือ
              	     ข้อ ๕ ให้นายจ้างจัดทำทะเบียนลูกจ้างเป็นภาษาไทยและเก็บไว้ ณ สถานที่ทำงานของนายจ้างเพื่อ
              ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ และให้ส่งสำเนาทะเบียนลูกจ้างให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายใน
              สามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มจ้างลูกจ้างเข้าทำงาน อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงฉบับนี้ไม่คุ้มครองกิจการประมง
              ทะเลที่มีลูกจ้างน้อยกว่า ๒๐ คน และเรือประมงที่ไปดำเนินกิจการนอกน่านน้ำไทยเป็นเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป

              	     (๒) หลักกฎหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีสาระสำคัญ ดังนี้
              	     มาตรา ๑๒๑ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวงแต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว
              ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ
              	     มาตรา ๑๒๔ วรรค ๑ ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่
              รองหรือเหนือพนักงานสอบสวน และเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายก็ได้
              	     มาตรา ๑๔๘ เมื่อปรากฏแน่ชัด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายใน
              ระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย
                    การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น  คือ  (๑)  ฆ่าตัวตาย  (๒)  ถูกผู้อื่นทำให้ตาย  (๓)  ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
              (๔) ตายโดยอุบัติเหตุ (๕) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ

              	     (๓) พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. ๒๔๘๑ มีสาระสำคัญ ดังนี้
              	     มาตรา ๑๒ เรือที่ขอจดทะเบียนเป็นเรือไทย ให้นายทะเบียนเรือเก็บใบสำคัญแสดงการตรวจเรือไว้
              และถ้ามีใบสำคัญแสดงต่อนายทะเบียนเรือกรมเจ้าท่าถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
              	     มาตรา ๔๙ เรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้ว ในระหว่างเวลาที่คงใช้เรือต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้ประจำเรือ
                    - ใบทะเบียนหรือใบทะเบียนชั่วคราวแล้วแต่กรณี
                    - ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือต่างต่างๆ
                    - สัญญาคนประจำเรือ ถ้ามี
                    - สัญญาเช่าเรือ ถ้ามี
                    - ใบตราส่ง ถ้ามี
                    - สมุดปูมเรือ
                    - ใบปล่อยเรือและใบอนุญาตออกจากท่า ถ้ามี
              	     มาตรา ๕๕ ในกรณีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือในกรณีความผิดที่เกิดขึ้นในเรือไทย ให้ถือว่า
              เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย
              เมื่อปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ และมาตรา ๙๒ แห่งประมวลกฎหมายนั้น
                    ๑. เจ้าท่าหรือผู้รักษาการแทนเจ้าท่า
                    ๒.  นายทหารชั้นสัญญาบัตรผู้ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้  คือ  ผู้บังคับบัญชาป้อม  ผู้บังคับการเรือ  หรือ
              ผู้บังคับการกองทหารแห่งราชนาวี
                    ๓. เจ้าพนักงานประมงหรือเจ้าพนักงานศุลกากรตั้งแต่ตำแหน่งประจำแผนกขึ้นไป
                    ๔. เจ้าพนักงานอื่นๆ ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งเพื่อการนี้
                      เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ เจ้าพนักงานประมงและเจ้าพนักงานศุลกากรซึ่งต่ำกว่าตำแหน่งประจำ
                      แผนกลงมา ให้ถือว่าเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ



                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๐๗





     Master 2 anu .indd   307                                                                     7/28/08   9:23:35 PM
   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312