Page 306 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 306
(๓) สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร
เจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งที่ ๑/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ เรื่อง เงินทดแทน ให้นายจ้าง ผู้ถูก
ร้องที่ ๑ จ่ายเงินทดแทนแก่ผู้มีสิทธิ์ กรณีการเสียชีวิตของนายนิพล จูมกุมาร ลูกเรือประภาสนาวี เป็นค่า
จัดการศพ จำนวน ๑๘,๔๐๐ บาทและค่าทดแทน จำนวน ๓๙๑,๖๘๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน
๔๑๐,๐๘๐ บาท โดยวินิจฉัยว่า ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ชีวิตเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ทั้งนี้
ตามสำเนาเวชระเบียนและความเห็นแพทย์ ระบุว่า ผู้ตายมีอาการโรคหัวใจล้มเหลวจากการขาดวิตามิน บี ๑
ซึ่งเกิดจากการไม่ได้รับประทานผัก ผลไม้ เนื้อหมู ไข่ หรือสารอาหารประเภทอื่นติดต่อกันเป็นเวลาหลาย
เดือน ลูกเรือรายนี้เสียชีวิตเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๙ ขณะเรือประภาสนาวีเดินทางจากประเทศ
อินโดนีเซียกลับประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม นายจ้างได้อุทธรณ์คำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยอ้างว่าลูกเรือมิได้ประสบอันตรายหรือ
เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน สำหรับลูกเรือประมงรายอื่นๆอยู่ระหว่างรอการตรวจสอบข้อมูลระหว่างฝ่าย
นายจ้างและผู้ร้องเพื่อดำเนินการต่อไป
เจ้าหน้าที่ได้ประสานงานขอข้อมูลรายชื่อลูกเรือจาก ผู้ร้อง (LPN) จำนวน ๙๕ ราย เพื่อให้นายจ้าง
ตรวจสอบว่าเป็นรายชื่อลูกเรือประภาสนาวีหรือไม่ เพื่อเจรจาทำความตกลงกันในเรื่องค่าจ้าง แต่ไม่มีความ
คืบหน้า เพราะนายจ้างไม่ยอมมาเจรจา
(๔) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร
เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานใน
กิจการประมงทะเล โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มิให้ใช้บังคับแก่ลูก
เรือที่ไปทำงานประมงทะเลอยู่นอกราชอาณาจักรติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ดังนั้น กรณีที่ร้องเรียนนี้ลูกเรือ
ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เมื่อลูกเรือ
หรือทายาทของลูกเรือยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ย่อมต้องสั่งยกคำร้อง
อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีกฎหมายคุ้มครองในกรณีดังกล่าว แต่ทางสำนักงานก็จะพยายามหาทางเพื่อ
ช่วยเหลือต่อไป
๔. หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๔.๑ หลักกฎหมายภายในประเทศ มีสาระสำคัญ ดังนี้
(๑) กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเล
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากงานประมงทะเลมีสภาพการจ้างและการทำงาน
ที่แตกต่างไปจากการจ้างงานทั่วไป ซึ่งสมควรกำหนดการคุ้มครองแรงงานในงานดังกล่าวไว้เป็นพิเศษ ให้
แตกต่างไปจากการคุ้มครองแรงงานตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และโดยที่มาตรา
๒๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้ออกกฎกระทรวงกำหนดการคุ้มครอง
แรงงานในกรณีต่าง ๆ ให้แตกต่างไปจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
สาระสำคัญของกฎกระทรวงมีดังนี้
ข้อ ๓ ในกฎกระทรวงนี้ “งานประมงทะเล” หมายความว่า งานหรือการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ
ทำประมงในทะเลโดยใช้เรือประมง “นายจ้าง” หมายความรวมถึง เจ้าของเรือประมงซึ่งใช้หรือยินยอมให้
บุคคลอื่นใช้เรือประมงนั้น ทำงานประมงทะเลเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์กัน แต่มิให้หมายความรวมถึงเจ้าของ
เรือประมงซึ่งให้ผู้อื่นเช่าเรือประมงเพื่อประกอบกิจการโดยตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย “ค่าจ้าง”
หมายความรวมถึง ส่วนแบ่งที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามมูลค่าของสัตว์น้ำที่จับได้
ข้อ ๔ ห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กอายุต่ำกว่าสิบหกปีทำงานในเรือประมง เว้นแต่เด็กนั้นอายุไม่ต่ำกว่า
๓๐๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 306 7/28/08 9:23:34 PM