Page 305 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 305

วินิจฉัยพบว่าเป็นโรคขาดวิตามิน บี ๑ ก่อนมารับการรักษาผู้ป่วยทั้งหมดได้ออกเรือประมงอยู่ในทะเลน่านน้ำ
              ของประเทศอินโดนีเซียต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๓ ปี เมื่อประมาณสามเดือนก่อนเข้าฝั่ง นายจ้างมีปัญหาทาง
              ด้านเศรษฐกิจและเรือขาดสัญญาการต่ออายุสัมปทาน ทำให้ลูกเรือขาดเสบียงอาหาร โดยเฉพาะผักสดและ
              ผลไม้ มีเพียงข้าวและปลาที่หาได้จากทะเลเท่านั้น
                    ส่วนสาเหตุการตายนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร ชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสอบสวน
              และดำเนินคดีในกรณีการตายโดยผิดธรรมชาติ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๙
              และมาตรา ๒๐ กำหนดว่าการตายโดยผิดธรรมชาติได้แก่ (๑) ฆ่าตัวตาย (๒) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย (๓) ถูกสัตว์
              ทำร้ายตาย (๔) ตายโดยอุบัติเหตุ และ (๕) ตายโดยมิยังปรากฏเหตุ ในขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดร้องทุกข์กล่าวโทษ
              ว่ามีการตายผิดปกติและในช่วงที่ผ่านมาไม่มีการตรวจพบศพในทะเล  จังหวัดสมุทรสาคร  จึงยังไม่มีการ
              ดำเนินคดีผู้ใด

              	     ๓.๒ การรับฟังคำชี้แจงจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
              	     (๑) ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุทรสาคร
                    กรณีลูกเรือประภาสนาวีทั้ง ๖ ลำ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสมุทรสาครไม่พบแบบรายการเพื่อเดิน
              ทางออกนอกราชอาณาจักรแต่อย่างใด จึงไม่มีการตรวจสอบพาหนะและคนประจำเรือ เจ้าหน้าที่ด่านตรวจ
              คนเข้าเมืองสมุทรสาครยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียนที่ว่าลูกเรือประภาสนาวีเป็นแรงงานต่างด้าว
              (แรงงานข้ามชาติ)  และเป็นบุคคลเดียวกันกับที่อ้างในการร้องเรียนนี้หรือไม่  หากปรากฏว่าเป็นแรงงาน
              ต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายจริง พนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนและดำเนินคดีทั้งลูกเรือและนายจ้าง
                    ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ เจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจพาหนะที่เข้ามาหรือออกนอก
              ราชอาณาจักร ซึ่งเจ้าของหรือผู้ควบคุมพาหนะจะต้องเข้าและออกตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง เขตท่า
              สถานีหรือท้องที่ตามกำหนดเวลา แจ้งกำหนดวันและเวลาที่จะมาถึงหรือจะออกไป ยื่นแบบรายการตามที่กฎ
              กระทรวงกำหนดและผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่
                    กรณีเรือประมงทะเลในราชอาณาจักรไม่ต้องยื่นแบบรายการต่อด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่จึงไม่
              ต้องตรวจพาหนะเข้าออกจากเขตท่า ซึ่งเรือดังกล่าวอาจลักลอบเดินทางเข้าออกราชอาณาจักรเมื่อใดก็ได้ทุก
              พื้นที่เขตน่านน้ำไทย โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำและกองทัพเรือทำหน้าที่ลาดตระเวนและตรวจสอบการ
              กระทำผิดดังกล่าว

              	     (๒) สถานีตำรวจน้ำ ๔ กองกำกับการ ๔ กองบังคับการตำรวจน้ำ จังหวัดสมุทรสาคร
                    ตำรวจน้ำมีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ปฏิบัติหน้าที่
              ตามกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศ
              ไทย รวมทั้งเขตเศรษฐกิจจำเพาะ และในทะเลหลวงเฉพาะเรือไทย ปฏิบัติงานร่วมกันหรือให้การสนับสนุน
              หน่วยงานอื่น  เช่น  (๑)  จัดเรือตรวจการณ์ในสังกัดออกลาดตระเวนทั้งชายฝั่งและอ่าวไทยในเขตจังหวัด
              สมุทรสาคร สมุทรสงครามและเพชรบุรี (๒) ประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการตรวจสอบเรือเข้าและออก
              ราชอาณาจักร แต่ไม่มีหน้าที่ตรวจลงตราในหนังสือคนประจำเรือ (๓) การจับกุมดำเนินคดีอาญาหากตรวจ
              พบการกระทำผิดกฎหมายหรือตามที่มีผู้ร้องเรียน
                    กรณีเรือประภาสนาวี ตามหลักฐานการแจ้งเรือเข้าเมืองท่า ท.๓๐ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์
              นาวี สาขาสมุทรสาคร ระบุว่าเรือถึงเมืองท่าสมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๓-๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ในช่วงเวลาที่เรือ
              ประภาสนาวีเข้าเมืองท่าสมุทรสาครนั้น  ทางหน่วยงานตำรวจน้ำไม่ได้รับแจ้งข้อมูลเรื่องเรือเข้าเมืองท่า
              สมุทรสาคร จึงไม่มีการตรวจสอบเรือดังกล่าว ประกอบกับเจ้าหน้าที่ต้องลาดตระเวนทั้ง ๓ จังหวัดดังกล่าว
              จึงอาจเป็นสาเหตุให้คลาดการตรวจลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำได้

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๐๕





     Master 2 anu .indd   305                                                                     7/28/08   9:23:34 PM
   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310