Page 304 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 304
พัฒนาสังคมจังหวัด เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองด่านสมุทรสาครและเจ้า
หน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด รวมไปถึงนักข่าวจากสำนักต่างๆ ได้ติดต่อมาที่ ผู้ร้อง
เพื่อขอทราบรายละเอียดความคืบหน้าของลูกเรือ
๒. ข้อเท็จจริงจากผู้แทนนายจ้าง
นายจ้าง ผู้ถูกร้อง ชี้แจงว่า ทราบเรื่องหนังสือคนประจำเรือ(Seaman Book) แต่ไต้ก๋งเรือเป็นผู้ดำเนิน
การ ในส่วนการเข้าและออกเรือมอบหมายให้บริษัท ที เอฟ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เป็นผู้จัดการ เคยประสาน
กับไต้ก๋งเรือเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องค่าจ้างค้างชำระ แต่ไต้ก๋งเรือไม่ยอมมา หากไปเจรจาตกลงกันเป็นรายบุคคล
และไม่เป็นทางการไต้ก๋งจะยินดี อย่างไรก็ตามในฐานะนายจ้างยินดีให้ความร่วมมือกับทางราชการในการ
แก้ไขปัญหา
ผู้ถูกร้องตั้งข้อสังเกตว่า นายจ้างประสบปัญหาเรื่องลูกเรือรับเงินจากนายจ้างแล้วไม่ยอมลงเรือ หรือ
ลงเรือไปแล้วแต่มีการเปลี่ยนย้ายเรือตามอำเภอใจ
นอกจากนี้ การรับลูกเรือนั้นตามธรรมเนียมได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของไต้ก๋งเรือ นายจ้างจะไม่
ทราบว่าใครเป็นลูกเรือบ้าง หากนายจ้างได้รับการยืนยันจากไต้ก๋งว่าบุคคลดังกล่าวเป็นลูกเรือประภาสนาวี
จริง จะได้นัดหมายให้มาตกลงกันที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ทราบแต่ชื่อ
ของไต้ก๋งแต่ไม่ทราบที่อยู่ ทั้งได้ยืนยันต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครว่ายินดีให้ความร่วมมือในการ
แก้ไขปัญหา
๓. การแก้ไขปัญหาของส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
หลังจากที่สื่อมวลชนได้แพร่ข่าวกรณีลูกเรือประภาสนาวีล้มตาย ทางจังหวัดสมุทรสาครจึงได้ตั้งคณะ
ทำงานเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา แต่กรณีที่มีลูกเรือเสียชีวิต หน่วยงานตำรวจไม่มีการดำเนิน
การเพื่อสอบสวนหรือดำเนินการอื่นใด จนกระทั่งเมื่อคณะอนุกรรมการได้เชิญหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมา
ประชุมเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน และ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ จึงมีความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
การดำเนินการของหน่วยงานรัฐ สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้
๓.๑ การดำเนินการของจังหวัดสมุทรสาคร
นายชาญวิทย์ วสยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องชี้แจงด้วย
วาจาและส่งเอกสารสรุปกรณีเรือประมงประภาสนาวี สรุปได้ว่า จังหวัดสมุทรสาครได้ทราบกรณีลูกเรือ
ประมงประภาสนาวีจำนวนหนึ่งเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากการทำงานจากข่าวทางสื่อมวลชน เมื่อวันที่ ๑๐
กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานแรงงานจังหวัดรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยประสานงาน
กับเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) และสภาทนายความ
ต่อมา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครได้มีคำสั่งที่ ๘๙๙/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ แต่งตั้ง
คณะทำงานการช่วยเหลือลูกเรือประมงประภาสนาวี ๑-๖ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
คณะทำงาน ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงาน ปรากฏดังนี้
(๑) เรือประภาสนาวีได้จดทะเบียนกับสำนักงานขนส่งทางน้ำ ที่ ๓ สาขาสมุทรสาคร กรมการขนส่ง
ทางน้ำและพาณิชย์นาวี อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสถานภาพเรือปัจจุบันมีการแจ้งงดการใช้เรือแล้ว
เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙
(๒) กรณีลูกเรือประมงประภาสนาวีเจ็บป่วย เสียชีวิต เป็นกรณีที่ทารุณโหดร้าย และถูกนายหน้า
หลอกลวง หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งได้รายงานข้อเท็จจริงว่า มีลูกเรือ
จำนวน ๒๒ ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นคนไทย ๑๓ ราย คนต่างชาติ ๙ ราย การ
๓๐๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 304 7/28/08 9:23:33 PM