Page 302 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 302

เมืองโดยผิดกฎหมายนั้นคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานจะประสานความร่วมมือกับผู้แทนสภาทนายความ
              และหน่วยงานรับที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การคุ้มครองชั่วคราวแก่แรงงานข้ามชาติต่อไป โดยสำนักงานตรวจคนเข้า
              เมืองยืนยันให้ผู้ร้องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งประสานไปยังหน่วยงาน

              การรับฟังข้อเท็จจริง
                    คณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังข้อเท็จจริงจากผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแล้ว สรุป
              สาระสำคัญได้ดังนี้

              	     ๑. ข้อเท็จจริงฝ่ายผู้ร้อง จำแนกประเด็นและข้อเท็จจริงได้ดังนี้
              	     	 ๑.๑ ประเด็นสภาพการจ้างและการทำงานของลูกเรือ
                      เรือประภาสนาวี ทั้ง ๖ ลำ มีนายศุภสิทธิ พงค์สถาพร เป็นเจ้าของและดูแลกิจการ ต่อมาได้โอน
              กรรมสิทธิ์ให้กับบรรดาลูกๆ แต่โดยส่วนใหญ่ นางสาวอภิชญา พงค์สภาพร เป็นคนจัดการ รายละเอียดการ
              ถือครองเรือมีดังนี้
                      เรือประภาสนาวี ๑ และ ๒ เจ้าของเรือชื่อ นางสาวนุสรณ์ พงค์สถาพร
                      เรือประภาสนาวี ๓ เจ้าของเรือชื่อ นางสาววรรณภา พงค์สถาพร
                      เรือประภาสนาวี ๔ เจ้าของเรือชื่อ นางสาวศุภริ พงค์สถาพร
                      เรือประภาสนาวี ๕ เจ้าของเรือชื่อ นางสาวอภิชญา พงค์สถาพร
                      เรือประภาสนาวี ๖ เจ้าของเรือชื่อ นายศุภสิทธิ พงค์สถาพร
                    โดยเจ้าของเรือทุกคนมีที่อยู่ที่เดียวกันคือบ้านเลขที่ ๘/๓ หมู่ ๕ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมือง จังหวัด
              สมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๑๗ และ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๖ เรือประภาสนาวีทั้ง ๖ ลำ พร้อมลูกเรือทั้งคนไทย
              และแรงงานข้ามชาติจำนวน  ๑๒๘  คนออกเดินทางไปประกอบกิจการสัมปทานการจับสัตว์น้ำนอกน่าน
              น้ำไทย โดยได้สัมปทานบริเวณหมู่เกาะวานั้ม ประเทศอินโดนีเชีย ซึ่งจะต้องขออนุญาตและทำเอกสารของ
              ลูกเรือ (Seaman book) เดินทางออกจากประเทศไทย เพื่อไปรอเอกสารเกี่ยวกับการสัมปทานหรือที่เรียกกันว่า
              “ตั๋วหาปลา”  เอกสารการเสียภาษี  ที่ประเทศสิงคโปร์  ก่อนจะเดินทางไปทำงานที่ประเทศอินโดนีเซีย
              เรือเดินทางไปถึงเกาะวานั้ม ประเทศอินโดนีเซีย ประมาณกลางเดือนสิงหาคม ๒๕๔๖ และเริ่มออกหาปลา
              ประมาณปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๔๖
                    เรือประภาสนาวีที่ไปทำงานที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นเรือลากคู่ ส่วนใหญ่จะจับปลาทู ใช้เวลาในการ
              หาปลาคราวหนึ่งประมาณ ๔๕ วัน โดยไม่มีวันพัก เมื่อถึงกำหนดจะกลับเข้าเกาะวานั้ม เพื่อขนปลาขึ้นเรือ
              แม่ ในช่วงนี้ประมาณ ๑ สัปดาห์ จะให้แรงงานได้พัก และเพื่อเตรียมวัตถุดิบและสิ่งของที่จำเป็นในเรือ
              ตลอดจนซ่อมแซมเรือให้มีความพร้อมในการออกทะเลต่อไป
                    เรือประภาสนาวี ในแต่ละลำจะมีไต้ก๋งเป็นผู้ดูแลและสั่งการ รองลงมาจะเป็นนายท้ายทำหน้าที่เป็น
              ผู้ช่วยไต้ก๋ง เช่น ขับเรือแทนไต้ก๋ง นายท้ายก็จะมีผู้ช่วยอีกประมาณ ๓ คน รองจากนายท้ายจะเป็นช่างเครื่อง
              หรือช่างประจำเรือ มีผู้ช่วยเรียกว่าช่างน้ำมัน รองลงมาเป็นหัวหน้าคนงานอวน ซึ่งจะดูแลคนงานที่ทำงาน
              เกี่ยวกับปลา สุดท้ายจะเป็นจุมโพ้ หรือพ่อครัว
                    ในระหว่างจับปลาที่เกาะวานั้ม มีลูกเรือเดินทางไปกับเรือแม่เพื่อไปทำงานในเรือประภาสนาวีด้วย
              เรือประภาสนาวีได้ออกจับปลาทั้งสิ้น ๑๗ เที่ยว รวมเวลาประมาณ ๓ ปี
              	     ๑.๒ ประเด็นลูกเรือเสียชีวิตและเจ็บป่วย
                    มูลเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกเรือเจ็บป่วยและล้มตาย  เนื่องจากนายจ้างผู้ถูกร้องไม่สามารถต่ออายุ
              สัมปทานการจับปลาต่อไปได้ ต้องรอน้ำมันสำหรับเดินทางกลับประเทศไทย และเรือประภาสนาวีต้องอยู่ใน
              สภาพหลบซ่อนมิให้ถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศอินโดนีเซียจับกุม จึงไม่สามารถจัดหาอาหารที่จำเป็นสำหรับ

        ๓๐๒  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   302                                                                     7/28/08   9:23:33 PM
   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307