Page 303 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 303
การดำรงชีพของลูกเรือได้ อีกทั้งไม่มีการจัดส่งหรือจัดหาอาหารและเสบียงหรือยารักษาโรคที่จำเป็นสำหรับ
ลูกเรือแต่อย่างใด
ในระหว่างที่รอการเดินทางกลับประเทศไทย นายแทน อายุ ๔๕ ปี ลูกเรือคนไทยเจ็บป่วยและถึงแก่
ความตาย ก่อนเสียชีวิตมีอาการท้องเสียและกินอาหารได้น้อยลง กินยาลดไข้ตลอดเวลา ลูกเรือช่วยกันดูแล
แต่อาการไม่ทุเลา ในที่สุดไต้ก๋งจึงนำส่งโรงพยาบาล แต่เสียชีวิตระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาล ได้ฝังศพไว้ที่
สุสานของผู้นับถือศาสนาอิสลามบนเกาะวานั้ม
หลังจากนั้น ๗ วัน ลูกเรือชื่อนายหมอแคน อายุ ๔๙ ปี เสียชีวิต แต่นายหมอแคนมีโรคประจำตัวคือ
โรคโลหิตจาง ไต้ก๋งสั่งให้แช่ศพไว้ในห้องแช่เย็นเป็นเวลา ๒ วัน จึงนำไปฝังไว้บนเกาะหลังจากการตายของ
นายหมอแคนประมาณ ๑๕ วัน (ราววันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙) เรือประภาสนาวีทั้ง ๖ ลำได้ออกจาก
เกาะวานั้มมายังกลางทะเลเพื่อรอเติมน้ำมัน โดยรออยู่ประมาณ ๑๐ วัน ในระหว่างที่รอเติมน้ำมัน ปรากฏ
ว่าลูกเรือเริ่มเจ็บป่วย อาการที่พบคือ เบื่ออาหาร ร่างกายมีอาการบวม เมื่อกดตามลำตัวจะมีรอยบุ๋ม เมื่อกิน
อาหารจะอาเจียน ปวดเมื่อย หอบ และไม่มีแรง แต่ในช่วงนี้ยังไม่มีลูกเรือเสียชีวิต
วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๙ เรือประภาสนาวีเริ่มเดินทางมุ่งหน้าสู่ประเทศไทย โดยเรือต้องแล่นตามเส้น
ทางน่านน้ำสากลมาทางประเทศอินโดนีเซีย ผ่านเกาะสุมาตราเข้าสู่ทะเลอันดามัน เลียบน่านน้ำประเทศพม่า
ผ่านเกาะภูเก็ต ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย และเข้าสู่จังหวัดสมุทรสาครโดยใช้เวลาในการเดินทาง ๑ เดือน
หลังจากออกเดินทางได้ ๓ วัน ลูกเรือชาวมอญเสียชีวิตเนื่องจากร่างกายอ่อนเพลีย บวม หายใจ
ไม่สะดวก และท้องร่วง ก่อนตายไม่มีการปฐมพยาบาลเนื่องจากไม่มียา ในช่วงนี้มีลูกเรือเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ
๓ คน ช่วงที่เดินทางผ่านเกาะสุมาตรามีลูกเรือเสียชีวิตทุกวัน ไต้ก๋งเรือเป็นผู้สั่งการให้ลูกเรือทิ้งศพลงสู่ทะเล
ช่วงเวลามืดหลังจากได้ติดต่อกับนายจ้างแล้ว ลูกเรือรู้เห็นเหตุการณ์โดยตลอด ตามปกติจะต้องเก็บศพลูก
เรือไว้ในห้องแช่เย็น เมื่อกลับเข้าฝั่งจะได้ติดต่อญาติมารับศพไปทำพิธีทางศาสนาต่อไป แต่ทิ้งศพลงทะเล
เนื่องจากไต้ก๋งได้ติดต่อกับนายจ้างแล้ว
สรุป (๑) ลูกเรือที่เสียชีวิต จำนวนทั้งสิ้น ๓๙ คน กล่าวคือเสียชีวิตที่เกาะวานั้ม ๒ คน ระหว่าง
เดินทางกลับ ๓๖ คน และเมื่อเรือจอดที่ท่าเรือจังหวัดสมุทรสาครแล้ว ๑ คน จำแนกได้ดังนี้ คนไทยจำนวน
๙ คน สัญชาติพม่า เชื้อชาติพม่า จำนวน ๗ คน สัญชาติพม่า เชื้อชาติมอญ จำนวน ๒๒ คน ชาวกะเหรี่ยง
จำนวน ๑ คน
(๒) ลูกเรือที่เจ็บป่วยจนไม่สามารถดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพตามปกติได้
เป็นชาวมอญ จำนวน ๓ คน
จากการสอบถามลูกเรือประภาสนาวี ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิต
แล้ว ลูกเรือทั้งหมดยังไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี มีลูกเรือจำนวน ๔ คนเป็นเด็กชายอายุไม่เกิน
๑๖ ปี ถูกหลอกลวงให้มาทำงานในเรือ ลูกเรือชาวพม่าส่วนใหญ่ไม่มีเอกสาร “คนประจำเรือ” ตามกฎหมาย
จึงถูกสวมชื่อเป็นคนไทย เพื่อให้สามารถทำงานบนเรือประมงได้ นอกจากนี้ มีแรงงานสัญชาติพม่าที่ไม่มี
เอกสารการทำงาน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทางองค์กรจึงได้
ขอความช่วยเหลือไปยังสภาทนายความ โดยติดต่อไปยังสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร ด่านตรวจ
คนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาคร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อขออายัดตัวแรงงาน ให้ได้รับค่าจ้างที่ยัง
ค้างชำระก่อนส่งตัวออกนอกประเทศ ซึ่งหลายคนถูกส่งกลับแล้ว
วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙ เจ้าหน้าที่เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้ลงพื้นที่ที่มีกลุ่มลูก
เรือคนไทย ในชุมชนที่ลูกเรือประภาสนาวีพักอาศัยอยู่ และได้พบกลุ่มลูกเรืออีก ๙ คน ประกอบด้วยไต้ก๋งเรือ
นายท้าย ช่างเครื่อง หัวหน้าลูกเรือ และลูกเรือ
อนึ่ง เมื่อเรือประภาสนาวีกลับมาถึงประเทศไทย สื่อมวลชนได้รายงานข่าวกรณีดังกล่าว จากนั้น
ประมาณ ๑ สัปดาห์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำงานด้านการป้องกันการค้ามนุษย์
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๐๓
Master 2 anu .indd 303 7/28/08 9:23:33 PM