Page 301 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 301

ประเด็นที่สอง เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงาน
              ประกันสังคม สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ด่านตรวจคนเข้าเมือง กองกำกับการตำรวจน้ำ และ
              สำนักงานขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี ในจังหวัดสมุทรสาครบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการ
              ประกอบกิจการของเรือประภาสนาวีหรือการให้ความเป็นธรรมแก่ลูกเรือประภาสนาวี หรือไม่ เพียงใด

              การดำเนินการของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน มีสาระสำคัญ ดังนี้
              	     (๑) วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ คณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังคำชี้แจงของผู้ร้อง ลูกเรือที่เป็นคนไทย
              และชาวพม่า ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
              	     (๒)  วันที่  ๒๐  พฤศจิกายน  ๒๕๔๙  มีการประชุมร่วมกับจังหวัดสมุทรสาคร  และส่วนราชการ
              ที่เกี่ยวข้อง  พบว่า  ในเรื่องประมงทะเลนอกน่านน้ำ  มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานและ
              หลายกระทรวง  เช่น  กระทรวงแรงงาน  (กรมการจัดหางาน  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  และ
              สำนักงานประกันสังคม) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (กรมประมง) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
              (กองบังคับการตำรวจน้ำ) กระทรวงคมนาคม (กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี) กระทรวงสาธารณสุข
              และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
                    คณะอนุกรรมการฯ มีข้อสังเกตว่า เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างและนโยบาย
              อย่างไรก็ตามในเรื่องเฉพาะหน้าหรือที่เกี่ยวกับค่าจ้างค้างชำระและสิทธิแรงงาน  น่าจะได้ประสานความ
              ร่วมมือระหว่างผู้ร้องกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของลูกเรือ
                    นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อตกลงให้ผู้ร้องและนายจ้างผู้ถูกร้องนำบัญชีรายชื่อลูกเรือและรายละเอียด
              เกี่ยวกับค่าจ้างค้างชำระมายืนยันและตรวจสอบความถูกต้องกัน และนัดหมายกับสำนักงานสวัสดิการและ
              คุ้มครองแรงงานจังหวัดเพื่อบันทึกปากคำลูกเรือคนไทยเพิ่มเติม การดำเนินการคืบหน้าประการใดให้แจ้งให้
              คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานทราบ
                    ครั้นถึงกำหนดนัด ปรากฏว่านายจ้างไม่มาตามนัดโดยอ้างว่าติดธุระ เจ้าหน้าที่ได้นัดหมายใหม่ในวัน
              ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ อีกครั้ง เจ้าหน้าที่แจ้งว่านายจ้างจะไม่มาติดต่อเพื่อชำระค่าจ้างหรือค่าเสียหาย
              ต่อลูกเรืออีกต่อไปแล้ว ให้ลูกเรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป ซึ่งลูกเรือได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ว่า
              ควรฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างเอง
              	     (๓) วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
              ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อหาแนวทางในการคุ้มครองและแก้ไขปัญหาให้เกิด
              ความเป็นธรรมและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่นายจ้างผู้ถูกร้องไม่ยินดี
              ในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาและให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน เท่ากับเป็นการผลักภาระให้แก่ผู้ที่ด้อยโอกาสไปดำเนิน
              การตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายและใช้เวลายาวนานกว่าคดีจะถึงที่สุด
                    อนึ่ง จากการดำเนินการแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ปรากฏว่า พนักงานสอบสวน
              กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาครได้สั่งการให้หน่วยงานระดับอำเภอ ดำเนินการสอบปากคำลูกเรือ
              ที่เป็นคนไทย จำนวน ๘ คน ทั้ง ๆ ที่เป็นเวลานานถึง ๖ เดือนหลังจากลูกเรือกลับเข้าฝั่งแล้ว อย่างไรก็ตาม
              ผู้ร้องไม่สามารถนำลูกเรือซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติเข้าไปให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนได้ เนื่องจากจะต้อง
              ถูกดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
                    เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งข้อหาเจ้าของเรือประภาสนาวีว่า ปิดบังซ่อนเร้นศพ
              เพียงข้อหาเดียว และเรียกผู้ต้องหา (นายจ้าง)เข้ารับทราบข้อกล่าวหาถึง ๓ ครั้ง จนในที่สุดนายจ้างผู้ถูกร้อง
              จึงเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อต่อสู้คดี
                    ที่ประชุมมีความเห็นว่า ในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับนายจ้าง สภาทนายความสามารถ
              ประสานงานสำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร และในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือที่เป็นแรงงานข้ามชาติเข้า

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๐๑





     Master 2 anu .indd   301                                                                     7/28/08   9:23:32 PM
   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306