Page 300 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 300
สาระสำคัญของเรื่องร้องเรียน
เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงาน หรือ Labour Rights Promotion Network (LPN) ผู้ร้องเป็น
องค์การพัฒนาเอกชนด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน คุ้มครองสิทธิแรงงาน และสรรค์สร้างการอยู่ร่วมกัน
ในสังคมไทยอย่างสันติ มีพื้นที่การทำงานในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ร้องได้บริการให้คำปรึกษา
ปัญหาแรงงานข้ามชาติ โดยร่วมกับสภาทนายความ มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ผู้ร้องได้รับเรื่องร้องเรียนจากแรงงานสัญชาติพม่า ที่ทำงานในเรือ
ประมง ชื่อประภาสนาวี ๔ ว่า นายจ้างไม่สนใจดูแลลูกจ้างเมื่อเจ็บป่วย โดยลูกจ้างมีอาการต่าง ๆ เช่น
ร่างกายทรุดโทรม ตาเหลือง ขาบวม เมื่อเอานิ้วกดลงตามกล้ามเนื้อบริเวณขาจะเป็นรอยบุ๋มไม่คืนรูป
การทรงตัวไม่เป็นปกติ หลังจากนั้นแรงงานที่เป็นอาสาสมัครในชุมชนได้แจ้งข้อมูลทำนองดังกล่าวอีกหลายราย
หลังจากรับเรื่องร้องเรียนประมาณ ๑ สัปดาห์ ผู้ร้องได้ลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง พบว่า
ลูกเรือประภาสนาวีทุกคนมีลักษณะอาการเดียวกันคือ การทรงตัวไม่เป็นปกติ ตัวบวม บางรายถุงอัณฑะบวม
และเสียชีวิต ๑ รายชื่อนายไข่ ได้ฌาปนกิจศพแล้ว
เรือประภาสนาวีเป็นเรือประมงที่ได้รับสัมปทานการจับปลานอกน่านน้ำ ได้ขึ้นทะเบียนไว้จำนวน ๖
ลำ มีนายศุภสิทธิ พงค์สถาพร เป็นเจ้าของ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ๘/๓ หมู่ ๕ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาคร เรือประภาสนาวีได้รับสัมปทานให้จับปลาบริเวณหมู่เกาะวานั้ม ประเทศอินโดนีเซีย ออก
เดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๖ และหาปลามาตลอดระยะเวลาสัมปทาน
ประมาณ ๓ ปี
เมื่อสัมปทานการหาปลาของเรือประภาสนาวีดังกล่าวสิ้นสุดลง นายจ้างได้พยายามเจรจาเพื่อขอต่อ
อายุสัมปทานแต่ไม่สำเร็จ เรือประภาสนาวีจึงต้องจอดอยู่ในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากหากจอดเรือ
เทียบท่าจะถูกเจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง
ในระหว่างที่รอการขอต่ออายุสัมปทานเป็นเวลากว่า ๒ เดือน เรือไม่สามารถหาปลาได้ ส่งผลให้
ลูกเรือทั้งชาวไทยและชาวพม่าไม่สามารถขึ้นฝั่งเพื่อซื้ออาหาร ยารักษาโรค และเข้ารับการรักษาพยาบาลใน
กรณีเจ็บป่วยได้ แรงงานที่เป็นลูกเรือจึงต้องยังชีพด้วยการกินอาหารที่เหลือ และช่วยเหลือตัวเองให้อยู่รอดไป
วัน ๆ ด้วยการตกปลาโดยไม่มีเครื่องปรุงรสใด ๆ ลูกเรือเริ่มมีอาการป่วย และเสียชีวิตในเวลาต่อมาจำนวน
๒ คน ลูกเรือที่เหลือจึงได้ช่วยกันจัดการศพ โดยการฝังไว้บนเกาะแห่งหนึ่งที่ประเทศอินโดนีเซีย หลังจาก
จัดการศพเสร็จไม่นาน เรือจึงเดินทางจากประเทศอินโดนีเซียกลับประเทศไทย ในระหว่างนี้ลูกเรือที่เจ็บป่วย
เสียชีวิตลงทุกวัน และมีการทยอยทิ้งศพลงทะเล
เรือประภาสนาวีเข้ามาถึงท่าเรือวัดหลังศาล ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในวันที่
๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙ รวมลูกเรือที่เสียชีวิตจำนวน ๓๙ คน และที่เจ็บป่วยอีกจำนวนมาก
ความต้องการของผู้ร้อง
ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตรวจสอบข้อเท็จจริงการกระทำของนายจ้างที่ไม่ดูแล
รักษาลูกจ้างที่เจ็บป่วย ไม่ชดเชยการเสียชีวิต และไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง และขอให้ตรวจสอบว่า
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ เพื่ออำนวยความเป็นธรรมให้แก่ลูกจ้าง
การดำเนินการตรวจสอบ
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ได้พิจารณาคำร้อง คำชี้แจงของผู้ร้อง นายจ้างผู้ถูกร้อง และส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นควรกำหนดประเด็นการตรวจสอบดังนี้
ประเด็นแรก เจ้าของเรือประภาสนาวี จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์ในการทำงาน
และในกรณีที่ลูกเรือเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายในระหว่างไปทำงานกับเรือประภาสนาวีหรือไม่ เพียงใด
๓๐๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 300 7/28/08 9:23:32 PM