Page 299 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 299

รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                                                       โดย

                                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

              รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔๖/๒๕๕๑

              เรื่อง      สิทธิแรงงาน กรณีนายจ้างกิจการประมงทะเลละเมิดสิทธิในชีวิตร่างกาย
                        และสิทธิแรงงานของแรงงานข้ามชาติ และเจ้าหน้าที่ของรัฐบกพร่องต่อหน้าที่

              ผู้ร้อง     ๑. เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ Labour Rights Promotion Network (LPN)
              
     
 
 
 โดยนายสมพงศ์ สระแก้ว ผู้แทน
                        ๒. ลูกเรือไทยและพม่า (ปกปิดชื่อ)

              ผู้ถูกร้อง    ๑. เจ้าของเรือประภาสนาวี
                        ๒. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร
                          และสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร กระทรวงแรงงาน
                        ๓. สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

              	     หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
                    กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กระทรวงคมนาคม
                    ตำรวจน้ำจังหวัดสมุทรสาคร กองบังคับการตำรวจน้ำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                    ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                    สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
                    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร กระทรวงสาธารณสุข

                    เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ Labour Rights Promotion Network (LPN) โดยนายสมพงศ์
              สระแก้ว ผู้แทน ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหนังสือตามคำร้องที่ ๔๕๒ /๒๕๔๙
              ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๙ ว่า ผู้ประกอบกิจการประมงทะเล ชื่อเรือประภาสนาวี ไปจับปลาที่ประเทศ
              อินโดนีเซีย ไม่ดูแลลูกเรือทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ทำให้ลูกเรือเจ็บป่วยและเสียชีวิตนอกน่าน
              น้ำไทย กว่า ๓๐ คน เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างลูกเรือตั้งแต่เริ่ม
              ทำงาน
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้ว จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
              ดำเนินการตรวจสอบ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบ
              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
              พ.ศ. ๒๕๔๕

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๙๙





     Master 2 anu .indd   299                                                                     7/28/08   9:23:32 PM
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304