Page 292 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 292
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๔๖๓/๒๕๕๐
เรื่อง สิทธิแรงงาน กรณี แรงงานไทยในต่างประเทศถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ผู้ร้อง นายแสวง วิเชียรเลิศ
ผู้ถูกร้อง บริษัท จัดหางาน บี. เอส. บี. โอเวอร์ซีส์ จำกัด ผู้ถูกร้องที่ ๑
บริษัท KAOHSIUNG RAPID TRANSIT CORP. (KRTC) ในฐานะนายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๒
นายแสวง วิเชียรเลิศ ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอ้างว่า บริษัท จัดหางาน
บี. เอส. บี. โอเวอร์ซีส์ จำกัด ในฐานะผู้จัดหางานในประเทศไทย และบริษัท KAOHSIUNG RAPID TRANSIT
CORP. (KRTC) ในฐานะนายจ้างที่ไต้หวันละเมิดสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนของผู้ร้อง และคนงานไทย
ที่ไต้หวัน ตามคำร้องที่ ๓๗๑/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๘
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่ามีมูล จึงมอบหมายให้
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานดำเนินการตรวจสอบ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง
ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕
สาระสำคัญของคำร้อง
ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ บ้านหนองไผ่ ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อปี ๒๕๔๗ ผู้ร้องเดินทางไปทำงานที่ไต้หวันผ่านบริษัทจัดหางาน บี. เอส. บี. โอเวอร์ซีส์ จำกัด เสียค่า
บริการ ค่าใช้จ่ายและค่านายหน้าจำนวนหนึ่งแสนบาทเศษ ผู้ถูกร้องที่ ๑ ส่งไปทำงานกับ นายจ้างคือบริษัท
KRTC สัญญาจ้างมีกำหนดเวลา ๒ ปี ผู้ร้องทำงานได้เพียง ๘ เดือน ถูกส่งกลับประเทศไทย
ผู้ร้องและคนงานไทยที่ไต้หวันได้รับความไม่เป็นธรรมหลายประการ กล่าวคือ คนงานไทยที่ประสบ
อุบัติเหตุไม่ได้รับเงินทดแทนและถูกหักค่าแรง เมื่อคนงานไทยทวงถามค่าจ้างหรือค่าล่วงเวลา ล่ามหรือ
นายจ้างข่มขู่ว่าจะส่งกลับประเทศไทย ที่พักอาศัยของคนงานไทยไม่ดี มีสังกะสีล้อมไว้ราวกับถูกคุมขังหรือ
แรงงานทาส และคนงานถูกโกงค่าจ้าง ผู้ร้องเคยร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานแล้วแต่ไม่ได้รับการแก้ไข
ความต้องการของผู้ร้อง
ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแก้ไขปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ร้อง และ
คนงานไทยด้วย
๒๙๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 292 7/28/08 9:23:27 PM