Page 288 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 288
ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ผู้ถูกร้องได้สอบถามพนักงาน โดยมี ๓ ทางเลือก
และจะต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง ดังนี้
๑) ทำงานที่ บทด.ต่อ (อัตราพนักงานจำนวนจำกัด)
๒) ไปอยู่บริษัทที่จัดตั้งใหม่ ชื่อ บริษัท บทด. จำกัด
๓) ไม่อยู่ ขอเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (เฉพาะอายุงาน ๖ ปีขึ้นไป)
ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ ผู้ถูกร้องได้สอบถามพนักงาน โดยมี ๒ ทางเลือก ดังนี้
๑) ไปอยู่บริษัทที่จัดตั้งใหม่
๒) ขอเข้าโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย”
ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๔๙ ผู้ถูกร้องได้สอบถามพนักงาน โดยมี ๒ ทางเลือก ดังนี้
๑) ประสงค์ขอเข้าโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย”
๒) กรณีที่พนักงานไม่เลือกข้อ ๑ บริษัทถือว่าท่านประสงค์จะไปอยู่ที่บริษัทที่จัดตั้งใหม่
ต่อมาเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายสุวภัทร สุวรรณกิจ ตำแหน่งกรรมการ
บริหาร รักษาการผู้อำนวยการ (ผู้ถูกร้อง) ได้เรียกประชุมพนักงานเพื่อชี้แจงถึงที่มาของแบบสอบถามครั้งที่ ๓
สรุปการชี้แจงได้ว่า ผู้ถูกร้องไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะให้พนักงานทำงานกับผู้ถูกร้องอีกต่อไป ภายหลังจากการ
จัดตั้งบริษัทร่วมทุนสำเร็จเรียบร้อย โดยให้พนักงานเลือกได้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง และถ้าไม่เลือก ผู้ถูกร้องจะใช้
อำนาจให้พนักงานผู้ถูกร้องไปอยู่บริษัทใหม่ตามข้อ ๒ ซึ่งผู้ร้องไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าการดำเนินการของ
ผู้ถูกร้องขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ ที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลงสภาพ
รัฐวิสาหกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพนักงานข้อ ๓.๓ ที่ระบุว่า “ให้สร้างความมั่นคงและรักษาผลประโยชน์ของ
พนักงาน โดยพนักงานจะได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าเดิม นับอายุงานต่อเนื่อง และไม่ปลดพนักงาน”
ผู้ร้องและพนักงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ไม่ได้มีมติ
ให้ปลดพนักงานภายหลังการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนหรือยุบเลิกกิจการของผู้ถูกร้อง การที่สภากรรมการ ผู้ถูกร้อง
จัดให้มีโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” มีเจตนาบังคับให้ผู้ร้องรวมทั้งพนักงานอื่นให้กระทำ
ในสิ่งที่พนักงานรวมถึงผู้ร้องไม่ต้องการ เพราะโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” ของผู้ถูกร้อง
ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะให้พนักงานรวมทั้งผู้ร้องทำงานกับผู้ถูกร้องต่อไป ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการปลดพนักงานทุก
คนรวมทั้งผู้ร้อง จึงเป็นการฉ้อฉล และสภากรรมการผู้ถูกร้องไม่มีอำนาจปลดพนักงานหรือยุบเลิกกิจการผู้ถูกร้อง
๒. ผู้ร้องได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๙ และได้
แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตรวจสอบ ซึ่งในเอกสาร
ดังกล่าวชิ้นหนึ่งมีหนังสือซึ่งลงลายมือชื่อของพนักงานผู้ถูกร้องที่เคยลงชื่อยื่นใบสมัครเข้าร่วมโครงการ
“ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” ของผู้ถูกร้อง รวมทั้งผู้ร้อง จำนวน ๒๐ คน ถึงกรรมการบริหารรักษา
การผู้อำนวยการ ผู้ถูกร้องระบุว่า “ขอสงวนสิทธิในการกลับเข้าทำงานใหม่ และขอให้ใบสมัครเข้าร่วม
โครงการร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่ายเป็นโมฆะ หากปรากฏในภายหลังว่าผู้ถูกร้องไม่ได้ดำเนินการ
ใน ๓ เรื่อง คือ ๑) ปิดกิจการและยุติธุรกรรมของผู้ถูกร้องทั้งหมด ๒) สิทธิประโยชน์ของพนักงานที่ผู้ถูกร้อง
เลิกจ้างเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกิจการของผู้ถูกร้องไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๗ เมษายน
๒๕๔๗ และ ๓) โครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” ของผู้ถูกร้องไม่ได้รับการอนุมัติโดยถูก
ต้องจากกระทรวงการคลัง และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด
๓. ผู้ร้องได้ให้ปากคำต่อคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ว่าขณะนี้
ผู้ร้องถูกผู้ถูกร้องให้ออกจากงานตามที่ผู้ร้องได้ยื่นเข้าโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย”
ของผู้ถูกร้องร่วมกับพนักงานของผู้ถูกร้องอื่นอีก ๓๔ คน ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าโครงการดังกล่าวของผู้ถูกร้องดำเนิน
การโดยบีบบังคับพนักงานของผู้ถูกร้องรวมทั้งผู้ร้องด้วย เพราะมีทางให้เลือกเพียง ๒ ทาง คือ
๒๘๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 288 7/28/08 9:23:24 PM