Page 287 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 287

มนุษยชนแห่งชาติจะดำเนินการเพื่อให้มีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไปได้หรือไม่

              ความต้องการของผู้ร้อง
                    ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังนี้
                    ๑. ขอให้ประสานการเจรจากับ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ยุติโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความ
              ยินดีทั้งสองฝ่าย” หรือให้ชะลอการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวไว้จนกว่าการตรวจสอบความจริงจะยุติ
                    ๒. ขอให้ตรวจสอบว่าการดำเนินการโครงการบริษัทร่วมทุนของคณะผู้บริหารบริษัท ไทยเดินเรือทะเล
              จำกัด ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ขอให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

              การดำเนินการตรวจสอบ
                    การกำหนดประเด็นการตรวจสอบ
              	     ๑. คณะอนุกรรมการ ฯ ได้กำหนดประเด็นการตรวจสอบว่า
                    การที่ผู้ถูกร้องดำเนินการให้ผู้ร้องและพนักงานอื่นเข้าร่วมโครงการ  “ร่วมใจจากด้วยความ
              ยินดีทั้งสองฝ่าย” เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
                    ๒. การดำเนินการของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                      ๒.๑ การประชุมรับฟังข้อเท็จจริงฝ่ายผู้ร้อง
                      ๒.๒ การประชุมรับฟังข้อเท็จจริงฝ่ายผู้ถูกร้อง
                      ๒.๓ การประชุมรับฟังข้อเท็จจริงจากหน่วยงานภาครัฐ
              	     ๓. ข้อเท็จจริงที่ได้รับจากการตรวจสอบ
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้รับฟังข้อเท็จจริง และได้รับเอกสารประกอบการชี้แจงจากฝ่ายผู้ร้อง
              และผู้ถูกร้อง มีรายละเอียดดังนี้
              		    	 ๓.๑ ข้อเท็จจริงจากฝ่ายผู้ร้อง
                      ๑. ผู้ร้องและพนักงานได้ร้องเรียนเป็นหนังสือลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ สรุปความได้ว่า ผู้ถูกร้อง
              เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติว่า....
                        (๑) อนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอทั้ง ๒ ข้อ ดังนี้
                          (๑.๑) อนุมัติให้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด กับ กลุ่มบริษัท
              เจ้าของเรือไทย  จำนวน  ๒๓  บริษัท  โดยให้มีสัดส่วนการร่วมทุนของผู้ถูกร้องกับกลุ่มบริษัทเจ้าของ
              เรือไทย จำนวน ๒๓ บริษัท เป็นร้อยละ ๓๐ และ ๗๐ ตามลำดับ
                           (๑.๒) อนุมัติให้ บทด. ลงทุนในบริษัทร่วมทุนเป็นจำนวนเงิน ๒๐๐ ล้านบาท โดยใช้เงิน
              ของผู้ถูกร้องที่มีอยู่ภายหลังหักค่าใช้จ่ายและภาระผูกพันที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
                        (๒) ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
              สังคมแห่งชาติ รวมทั้งความเห็นของคณะรัฐมนตรี ที่เห็นว่าบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นต้องมีระบบการบริหาร
              จัดการที่เหมาะสม และจูงใจให้ผู้ร่วมทุนทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันการดำเนินงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ
              และประสิทธิผลสูงสุด และไม่เกิดปัญหาผลประโยชน์ขัดกัน (conflict of interest) ของเอกชนผู้ร่วมทุน ต้องมุ่ง
              สร้างเครือข่ายเพื่อให้บริษัทร่วมทุนสามารถให้บริการทั้งการส่งออก และนำเข้าสินค้าทางเรือจากแหล่งต่างๆ
              ได้อย่างครบวงจร อันเป็นการสร้างรายได้ให้แก่บริษัทร่วมทุน ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ให้พิจารณา
              ด้วยว่าจะต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐด้วยหรือไม่
                    หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติดังกล่าว สภากรรมการของผู้ถูกร้องได้ประชุมสามัญ ครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๘
              เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ และมีมติให้จัดโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” ทั้งนี้
              ผู้ถูกร้องได้ออกแบบสอบถามพนักงานรวม ๓ ครั้ง

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๘๗





     Master 2 anu .indd   287                                                                     7/28/08   9:23:23 PM
   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292