Page 297 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 297
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เนื่องจากกรณีคนงานไทยไปทำงานในต่างประเทศถูกละเมิดสิทธิหรือถูกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจนได้
รับความเดือดร้อนนั้น มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความต้องการแรงงานของประเทศปลายทาง
ความต้องการรายได้ของคนงานไทย ผลประโยชน์ของธุรกิจจัดหางาน ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการค้ามนุษย์
และค่านิยมการทำงานต่างประเทศ
แนวทางและมาตรการในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาจึงต้องดำเนินการทั้งในระดับชุมชนซึ่งเป็นต้น
ทางของการไปทำงานต่างประเทศ ระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานจึง
มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลดังนี้
๑. ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ทั้งในส่วนที่เป็นแรงงานมีฝีมือ
และไร้ฝีมือ มีนโยบาย มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการทางบริหารทั้งในด้านการส่งเสริมและพัฒนา
เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานและข้อมูลที่จำเป็น การพัฒนาทักษะฝีมือ กองทุนเงินกู้เกี่ยวกับ
อาชีพ การฝึกสอนภาษา การดูแลช่วยเหลือครอบครัวของคนงานไทยในกรณีที่มีปัญหาที่ประเทศปลายทาง
และการสานต่องานที่ทำในต่างประเทศ หรือสร้างอาชีพรองรับเมื่อคนงานไทยกลับประเทศ
๒. บริหารจัดการหน่วยงานรัฐและองค์กรชุมชนในลักษณะบูรณาการ ให้มีบทบาทในการปกป้องและ
คุ้มครองสิทธิของคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศตั้งแต่ต้นทางคือระดับชุมชน เช่น การให้ความรู้ในข้อมูล
ข่าวสารที่จำเป็นในเรื่องตำแหน่งงานหรือสภาพการจ้าง กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลาย
ทาง หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่คนงานไทย เป็นต้น
๓. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกัน หรือแก้ไขปัญหา
ข้อขัดแย้งด้านแรงงานที่ประเทศปลายทาง
๔. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอเพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนองค์กรเอกชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่มี
วัตถุประสงค์ในการคุ้มครองหรือให้ความช่วยเหลือด้านแรงงานหรือสิทธิมนุษยชนแก่คนงานไทยที่ประเทศ
ปลายทาง ตลอดจนการสร้างเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
๕. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีโทษและมาตรการการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพในกรณีที่มีการหลอก
ลวงต้มตุ๋นคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศ กรณีบริษัทจัดหางานหรือบุคคลใดหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำ
การโดยทุจริต เอาเปรียบคนงาน หรือมีการกระทำการเข้าข่ายการค้ามนุษย์ และให้เป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษ
โดยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
มติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ ๒๗ /๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๖
กันยายน ๒๕๕๐ มีมติเห็นชอบกับความเห็นและมติของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
(นายเสนห จามริก)
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๙๗
Master 2 anu .indd 297 7/28/08 9:23:29 PM