Page 289 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 289

(๑) ไปอยู่กับบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นระหว่างผู้ถูกร้องกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย จำนวน ๒๓ บริษัท
              	     (๒) ยื่นลาออกตามโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” เนื่องจากเมื่อผู้ร้องไม่ได้รับการ
              พิจารณาให้ไปทำงานกับบริษัทร่วมทุนใหม่ ผู้ร้องจึงต้องยื่นใบลาออกตามโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดี
              ทั้งสองฝ่าย” โดยผู้ร้องไม่ทราบข้อเท็จจริงในขณะยื่นใบลาออกเพื่อเข้าโครงการว่า ผู้ถูกร้องยังดำเนินธุรกรรม
              ตามปกติ ถือว่าผู้ถูกร้องปิดบังข้อเท็จจริงที่ควรบอกให้แจ้ง เป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิใน
              การมีงานทำ ซึ่งหมายรวมถึงความมั่นคงในการทำงานของผู้ร้อง ทั้งที่ผู้ร้องยังคงต้องการทำงานกับผู้ถูกร้องต่อไป

              	     ๓.๒ ข้อเท็จจริงจากฝ่ายผู้ถูกร้อง
                    ๑. คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ให้ผู้ถูกร้องซึ่งมีฐานะตาม
              กฎหมายเป็นรัฐวิสาหกิจ  สังกัดกระทรวงคมนาคม  จัดตั้งกองเรือพาณิชย์  ด้วยการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน
              ระหว่างผู้ถูกร้องกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย จำนวน ๒๓ บริษัท ในสัดส่วน ๓๐:๗๐ โดยผู้ถูกร้องลงทุน
              ๒๐๐ ล้านบาท และกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย จำนวน ๒๓ บริษัท ร่วมลงทุน ๔๖๖ ล้านบาท
                    ๒. ผู้ถูกร้องได้จัดทำประกาศลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๙ ถึงพนักงานของผู้ถูกร้อง รวมทั้งผู้ร้อง
              เพื่อเชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” เปิดโอกาสให้พนักงานของผู้ถูกร้อง
              ที่มีความประสงค์จะออกจากงานโดยความสมัครใจ ให้ยื่นใบสมัครตั้งแต่วันที่ ๑๓-๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙
              ปรากฏว่ามีพนักงานยื่นใบลาออกเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓๖ คน และผู้ถูกร้องมีมติให้เข้าร่วมโครงการ
              ได้ ๓๔ คน ที่เหลืออีก ๒ คน ต้องรอผลการสอบสวนทางวินัย ซึ่งผู้ถูกร้องได้มีคำสั่งที่ ๒๖/๒๕๔๙ ลง
              วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๙ และเมื่อตรวจสอบรายชื่อแนบท้ายคำสั่ง พบว่าผู้ร้องอยู่ในลำดับที่ ๙
                    ๓. ผู้ถูกร้องได้มีคำสั่ง ที่ ๒๙/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ เลิกจ้างพนักงานของผู้ถูกร้อง
              ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับพนักงานที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” จำนวน
              ๑๘ คน โดยให้เหตุผลว่า จะต้องเลิกจ้างพนักงานของผู้ถูกร้องจำนวนนี้ตามข้อบังคับของผู้ถูกร้องก่อน เพราะ
              พนักงานของผู้ถูกร้องทั้ง ๑๘ คน นั้น จะได้เข้าไปทำงานที่บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี
                    ๔. ผู้ถูกร้องได้มีประกาศลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ถึงลูกค้าของผู้ถูกร้อง เพื่อปฏิเสธข่าวที่มี
              การตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางฉบับในขณะนั้น ว่าผู้ถูกร้องเลิกจ้างพนักงานรวมถึงจะปิดกิจการ ซึ่งจะทำให้
              เกิดความไม่เชื่อมั่นจากลูกค้า ว่าผู้ถูกร้องยังคงดำเนินธุรกรรมตามปกติ และในประกาศดังกล่าวได้แจ้งราย
              ชื่อพนักงานของผู้ถูกร้องจำนวน ๓๐ คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย”
              โดยรายชื่อดังกล่าวนั้นไม่มีชื่อของผู้ร้องแต่อย่างใด
                    ๕. ผู้ถูกร้องได้มีหนังสือถึงประธานอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ชี้แจง
              เรื่องที่ประธานอนุกรรมการสิทธิแรงงานมีหนังสือถึงผู้ถูกร้อง เพื่อให้ชะลอโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความ
              ยินดีทั้งสองฝ่าย”  โดยในหนังสือดังกล่าวได้กล่าวถึงความเป็นมาของนโยบายจัดตั้งกองเรือแห่งชาติ
              การดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ การแก้ปัญหา
              ภายในของผู้ถูกร้องภายหลังจากการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน  รวมถึงปัญหาในการดำเนินการเกี่ยวกับ
              พนักงานซึ่งมีนโยบายแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำงานกับบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้น
              ใหม่ และกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย
              	     ๓.๓ เอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                    ประธานอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้มีหนังสือไปสอบถามข้อเท็จจริง รวมถึงได้มีหนังสือถึงส่วนราชการ
              ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ดำเนินการชะลอหรือยกเลิกโครงการร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่ายของผู้ถูกร้อง
              หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีหนังสือถึงประธานอนุกรรมการสิทธิแรงงาน สรุปได้ดังนี้
              	     กระทรวงการคลัง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  (นายทนง  พิทยะ)  ได้มีหนังสือ  ที่
              กค.๐๘๐๖/๑๒๘๑๘ ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ชี้แจงหลักการในการดูแลผลประโยชน์ให้กับพนักงานผู้

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๘๙





     Master 2 anu .indd   289                                                                     7/28/08   9:23:24 PM
   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294