Page 290 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 290
ถูกร้อง ว่าการจัดทำโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” และโครงการโอนพนักงานผู้ถูกร้องไป
ทำงานที่บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ ไม่เข้าข่ายการดูแลสิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มี
การแปลงสภาพตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ เพราะในกรณีของผู้ถูกร้องมีฐานะเป็น
บริษัทจำกัดอยู่แล้ว การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างผู้ถูกร้องกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทยมีวัตถุประสงค์
เพื่อขยายกิจการของผู้ถูกร้องให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น มิได้เป็นการดำเนินการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ
หรือการแปลงทุนเป็นหุ้นแต่อย่างใด สำหรับการจัดทำโครงการร่วมใจจากของผู้ถูกร้องอยู่ในกรอบของ
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
พิเศษสูงสุดไม่เกิน ๓๐ เท่าของเงินเดือนสุดท้าย รวมทั้งแทนเงินชดเชยตามประกาศคณะกรรมการแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ส่วนเงื่อนไขอื่นให้เป็นอำนาจของ
คณะกรรมการของผู้ถูกร้องที่จะพิจารณาได้ตามความเหมาะสม
นอกจากนั้น หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของผู้ถูกร้องมิได้ให้อำนาจสภากรรมการของผู้ถูกร้อง
ในการปลดพนักงานผู้ถูกร้อง หรือดำเนินการยุบเลิกกิจการของผู้ถูกร้องแต่อย่างใด ในความเป็นจริงการจัด
ตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างผู้ถูกร้องกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย ก็มิได้ยุบเลิกกิจการของผู้ถูกร้อง และสภา
กรรมการของผู้ถูกร้องยังไม่ได้มีคำสั่งปลดพนักงานของผู้ถูกร้องแต่อย่างใด
กระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน(นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้มีหนังสือ ที่ รง.๐๕๐๙/
๑๕๙๑ ลงวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า การจัดตั้งกองเรือพาณิชย์โดยการจัดตั้งบริษัท
ร่วมทุนระหว่างผู้ถูกร้องกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๔๘ นั้น พนักงานของผู้ถูกร้องสมควรได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าเดิม หรือให้เป็นเรื่องที่ผู้ถูกร้อง
และพนักงานผู้ถูกร้อง รวมถึงผู้ร้องจะได้ตกลงเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โดยฝ่ายพนักงานของผู้ถูกร้องรวมถึง
ผู้ร้องยินยอมด้วยความพอใจ รวมทั้งให้มีการร่วมปรึกษาหารือกันเพื่อมิให้เกิดข้อขัดแย้งแต่ประการใด
ความเห็นของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้พิจารณาตามประเด็นการตรวจสอบแล้ว มีความเห็นดังนี้
ผู้ถูกร้องได้จัดให้ผู้ร้องและพนักงานเข้าร่วม “โครงการร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” หรือ
โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดจริง แต่ในการดำเนินการดังกล่าวผู้ถูกร้องได้ยื่นเงื่อนไขทางเลือกให้แก่ผู้ร้อง
และพนักงานเพียงสองประการ คือเข้าร่วม “โครงการร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” หรือสมัครไปอยู่
บริษัทใหม่
ทั้งได้แจ้งข้อมูลต่อผู้ร้องและพนักงานว่า บทด.จะเลิกกิจการ ผู้ร้องและพนักงานจึงเข้าร่วมโครงการดัง
กล่าว ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ผู้ถูกร้องได้มีประกาศระบุว่า ผู้ถูกร้อง
มิได้เลิกกิจการ และยังคงดำเนินธุรกรรมตามปกติ ซึ่งเมื่อผู้ร้องได้ทราบประกาศนี้ ก็ได้ทำหนังสือถึงคณะ
อนุกรรมการสิทธิแรงงาน เพื่อโต้แย้งการดำเนินการโครงการดังกล่าวของผู้ถูกร้อง
การกระทำของผู้ถูกร้องจึงเป็นการแจ้งข้อมูลไม่ครบถ้วนถูกต้อง และปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้ง จนถึง
ขนาดทำให้ผู้ร้องและพนักงานหลงเชื่อ และตัดสินใจเพื่อเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากฯ อย่างไม่มีทางเลือก อัน
เป็นการแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉลและใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวของผู้ถูกร้องไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ และ
ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๘๖ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๖ ข้อย่อย ๑ ที่กำหนดว่า รัฐภาคี
แห่งกติกานี้รับรองสิทธิในการทำงาน ซึ่งรวมทั้งสิทธิของทุกคนในโอกาสที่จะหาเลี้ยงชีพโดยงานซึ่งตนเลือก
หรือรับอย่างเสรี และจะดำเนินขั้นตอนที่เหมาะสมในการปกป้องสิทธินี้
๒๙๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 290 7/28/08 9:23:24 PM