Page 296 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 296

ไต้หวันในลักษณะแอบแฝง อำพราง หรือซ่อนเร้น อันเป็นขบวนการชักนำคนงานไทยไปสู่วงจรการค้ามนุษย์
              ยาเสพติด การค้าประเวณี และแรงงานทาส
                        เกี่ยวกับนโยบายด้านแรงงานต่างชาติของไต้หวัน  ทางการไต้หวันชี้แจงว่าไต้หวันจะยึดมั่น
              หลักการความเสมอภาค  ผลประโยชน์ร่วมกันและให้เกียรติกันโดยผลประโยชน์ของคนงานไทยเท่าเทียม
              คนงานชาติอื่น  แต่ในทางปฏิบัติไต้หวันใช้ประเด็นแรงงานกดดันไทยในทางการเมือง  เช่น  มีนโยบาย
              จ้างแรงงานต่างชาติชาวฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและมองโกเลียแทนแรงงานไทยในกิจการก่อสร้างขยายระยะ
              เวลาในการอนุมัติการนำเข้าคนงานไทยจาก ๑๐ วัน เป็น ๖๐ วัน ไม่อนุญาตให้ภัตตาคารหรือร้านอาหาร
              ไทยในไต้หวันจ้างผู้ปรุงอาหารที่เป็นคนงานไทย เป็นต้น

              	     (๓.๓) ข้อเสนอแนะของกรมการกงสุลไทย มีสาระสำคัญดังนี้
                    ติดตามผลกรณีที่ไต้หวันประกาศว่าจะจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษ คือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
              เพื่อแรงงานต่างชาติ
                    ติดตามผลการแก้ไขปัญหาของนายจ้างที่ตกลงจะแก้ไข
                    ติดตามผลเรื่องการดำเนินคดีของทางการไต้หวันต่อนายจ้างและบริษัทที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย
              ควรตรวจสอบระบบการจัดส่งคนงานไปไต้หวันให้รัดกุมยิ่งขึ้น บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและโดยเคร่งครัด
              สำหรับผู้กระทำผิดกฎหมาย เพื่อปกป้องระบบและรักษาคนดีไว้
                    ควรนำเรื่องมาตรการหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาแก้ไขปัญหาควบคู่กัน ควรประสาน
              ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ ปดส. ปปง. และกระทรวง
              พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                    ๔. มีข้อน่าสังเกตว่า ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ มีการประชุมคณะกรรมการร่วม
              หารือไทย – ไต้หวัน ครั้งที่ ๙ ฝ่ายไทยมีอธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เป็นหัวหน้าคณะ มีข้อ
              สรุปในการดำเนินการเรื่องการส่งคนงานไทยไปไต้หวันหลายประการ เช่น ไต้หวันยอมรับการใช้เลขประจำตัว
              ประชาชนไทย ๑๓ หลักในฐานข้อมูลของไต้หวันเพื่อป้องกันเรื่องการแก้ไขชื่อเพื่อเข้าทำงานในไต้หวันซ้ำ
              ตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลและลงโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับค่านายหน้า ไต้หวันจะผ่อนปรนเรื่องการตรวจสุขภาพ
              ฝ่ายไทยรับจะฝึกอบรมแรงงานก่อนเดินทางและลงโทษแรงงานที่หลบหนีนายจ้าง กรณีคนงานไทยมิได้ทำผิด
              แต่ถูกเลิกจ้าง ให้โอนย้ายงานได้ มีนโยบายให้จ้างงานโดยตรงเพื่อแก้ปัญหานายหน้า จะร่วมมือแก้ปัญหา
              เรื่องนายจ้างหักค่าอาหาร เป็นต้น แต่ไม่มีการพิจารณาแก้ไขปัญหากรณีตามคำร้องนี้ ทั้ง ๆ ที่คนงานไทยได้
              ร้องเรียนต่อสำนักงานแรงงานไทยเกาสง ถึง ๒ ครั้ง และเจ้าหน้าที่ของไทยก็ไม่ได้รับเบาะแสหรือข่าวความ
              ขัดแย้งระหว่างนายจ้างหรือผู้รับเหมางานกับคนงานไทยที่ไต้หวันแต่อย่างใด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง
              ในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๘ หรือประมาณ ๑ เดือนหลังการประชุมคณะกรรมการดังกล่าว แสดงให้เห็นจุด
              อ่อนของกลไกการรับเรื่องร้องทุกข์หรือการเข้าถึงข้อมูลปัญหาของคนงานไทยที่ไต้หวัน

















        ๒๙๖  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   296                                                                     7/28/08   9:23:29 PM
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301