Page 294 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 294
รัฐมนตรีทราบทันทีและสั่งการให้สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา สาขาเมืองเกาสง ประสานงานกับ
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยช่วยเหลือแรงงานไทยอย่างใกล้ชิด
(๒) ฝ่ายบริหารกระทรวงแรงงานของไทยเดินทางไปไต้หวันและประสานงานกับนายจ้างและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ให้นายจ้างปฏิบัติตามสัญญา ปรับปรุงสภาพการจ้างและที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานและเจรจา
ต่อรองให้ทางการไต้หวันผ่อนปรนในการดำเนินคดีอาญากับคนงานไทย โดยขอให้พิจารณาประเด็นการกดขี่
คนงานไทยและหลักสิทธิมนุษยชนควบคู่กัน
(๓) มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของนายจ้างที่ไต้หวัน เช่น ยกเลิกระเบียบห้ามมีและใช้โทรศัพท์
มือถือในที่พักอาศัย คืนเงินหักฝากกันหนีซึ่งหักจากค่าจ้างทุกคนเดือนละ ๑,๐๐๐ เหรียญไต้หวัน ยกเลิกการ
จ่ายเงินล่วงหน้าในรูปคูปองโดยจ่ายเป็นเงินสด จัดบริการน้ำดื่มที่สะอาดให้เพียงพอ แก้ไขปัญหาเรื่องที่พัก
อาศัยแออัด เป็นต้น
(๔) จัดส่งพนักงานอัยการและว่าจ้างทนายความชาวไต้หวันเพื่อให้ความช่วยเหลือคนงานไทยในคดีอาญา
(๕) กระทรวงแรงงานได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดโครงสร้างระบบการส่งแรงงานไทยไปต่าง
ประเทศ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาจัดโครงสร้างระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ และการ
ปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับ กระบวนการดำเนินงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้ทันสมัยและโปร่งใส
การตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิด
การดำเนินการของทางการไต้หวัน
คณะกรรมการกิจการแรงงานไต้หวัน (CLA) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนเพื่อ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว มีรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารสรุป
ผลตรวจสอบสิทธิมนุษยชนแรงงานไทยในกรณีดังกล่าว ซึ่งแปลและสรุปโดยนายวิรัตน์ เทาประเสริฐ ล่าม
สำนักงานแรงงานไทเป สรุปได้ดังนี้
สรุปผลการตรวจของคณะกรรมการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน (ไต้หวัน) สรุปได้ดังนี้
(๑) บริษัท KRTC ในฐานะนายจ้างบกพร่องในการดูแลคนงานไทย ที่พักแออัด ไม่ถูกหลักสุขอนามัย
จนเป็นเหตุให้คนงานไทยก่อเหตุประท้วง และได้ขอให้นายจ้างปรับปรุงแก้ไขตามข้อเรียกร้องของคนงานไทย
จำนวน ๒๓ ข้อ ภายใน ๗ วัน
(๒) บริษัท หัวผาน จำกัด ซึ่งได้รับมอบหมายจากบริษัทนายจ้างให้ดูแลแรงงานไทยเป็นบริษัทที่ไม่ได้
รับอนุญาตจัดหางานนำเข้าแรงงานไทยและจัดหางานโดยผิดกฎหมายจึงต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
(๓) คนงานไทยส่วนใหญ่มีความซื่อและอ่อนโยน ข้อเรียกร้องของคนงานไทยส่วนใหญ่เกิดจากความ
บกพร่องในการบริหารและดูแลคนงานไทยของนายจ้าง จึงไม่ควรพิจารณาคนงานไทยว่าเป็นผู้ฝ่าฝืน
กฎหมาย คนงานไทยเคยร้องเรียนปัญหาการละเมิดสิทธิต่อสำนักงานแรงงานไทยเกาสง ๒ ครั้งแล้ว แต่ไม่มี
การแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที สำนักงานแรงงานไทยประจำเกาสงจึงบกพร่องต่อหน้าที่
(๔) นายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายการจ้างงานของไต้หวัน เรียกรับผลประโยชน์จากบริษัทจัดหางานแจ้ง
ข้อมูลเท็จ และปลอมแปลงเอกสารในการนำเข้าแรงงานไทย จะต้องถูกลงโทษโดยการระงับโควต้าในส่วนที่
ยังมิได้นำเข้าแรงงานไทย และระงับใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานที่นำเข้ามาแล้ว
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน (ไต้หวัน) สรุปได้ดังนี้
(๑) ควรลงโทษบริษัท KRTC ด้วยการระงับโควต้าแรงงานต่างชาติส่วนที่ยังมิได้นำเข้า รวมถึง
ใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างชาติที่นำเข้ามาแล้ว และให้ตรวจสอบกรณี บริษัท KRTC รับเงินจากผู้รับเหมา
ที่ต้องการจ้างแรงงานต่างชาติและจ่ายเงินให้บริษัท หัวผาน เพื่อดูแลแรงงานไทยว่าถูกต้องหรือเหมาะสม
๒๙๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 294 7/28/08 9:23:28 PM