Page 293 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 293

การดำเนินการตรวจสอบ
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้พิจารณาคำร้องและเอกสารของผู้ร้องประกอบแล้ว เห็นว่า ประเด็น
              สำคัญของคำร้องเป็นเรื่องผู้ร้องและคนงานไทยที่ไต้หวันถูกบริษัท KRTC และบริษัทผู้รับเหมาที่ไต้หวันละเมิด
              สิทธิและปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนงานไทย ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานจึงมีหนังสือด่วนที่สุด ที่
              สม ๐๐๐๓/๒๑๔๑ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘ ขอให้กรมการจัดหางานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดัง
              กล่าวตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องและคนงานไทยโดยด่วน
                    ต่อมา กรมการจัดหางานมีหนังสือ ที่ รง ๐๓๑๑/๑๖๒๖๐ ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ ตอบชี้แจงต่อ
              คณะอนุกรรมการฯ สรุปได้ดังนี้
                    ฝ่ายผู้ร้องถูกส่งกลับประเทศไทยโดยนายจ้างอ้างว่า ผู้ร้องขัดขืนคำสั่งของนายจ้าง และ นายจ้างทำ
              ผิดสัญญาไม่ให้ผู้ร้องและคนงานไทยใช้โทรศัพท์มือถือ ผู้ร้องต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ฯลฯ ฝ่ายบริษัท
              จัดหางานฯ ผู้ถูกร้องที่ ๑ ชี้แจงว่า ผู้ร้องถูกส่งกลับประเทศไทยเพราะทำผิดกฎระเบียบของนายจ้าง ผู้ร้อง
              ยอมรับผิดและได้ยกเลิกสัญญาจ้างเองโดยสมัครใจ
                    อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๘ ผู้ร้องกับผู้ถูกร้องที่ ๑ สามารถตกลงกันได้โดยผู้ถูกร้อง
              ที่ ๑ ได้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ร้องจำนวน ๒๗,๐๐๐ บาทแล้ว ซึ่งผู้ร้องพอใจ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า บริษัท KRTC
              ที่ไต้หวันทำผิดสัญญากับคนงานไทยนั้น กรมการจัดหางานได้ประสานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อ
              แก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว
                    นอกจากนี้ กรมการจัดหางานยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า กรณี บริษัท KRTC ที่ไต้หวันไม่ปฏิบัติตามสัญญา
              กับคนงานไทยนั้น ปรากฏว่า เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ คนงานไทยได้ประท้วงและก่อเหตุเผาทำลาย
              ทรัพย์สินในที่พักอาศัยคนงาน ซึ่งคณะกรรมการกิจการแรงงานไต้หวัน(COUNCIL OF LABOUR AFFAIR - CLA)
              ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว
                    คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า แม้ผู้ร้องกับผู้ถูกร้องที่ ๑ ตกลงกันได้และผู้ร้องพึงพอใจในการช่วยเหลือดัง
              กล่าวแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากปัญหาคนงานไทยที่ไต้หวันถูกละเมิดสิทธิ จนกระทั่งความขัดแย้งบานปลายจน
              เกิดเหตุเผาและทำลายทรัพย์สินของนายจ้างนับว่าเป็นกรณีร้ายแรงยิ่ง จำเป็นที่รัฐบาลไทยจะต้องมีนโยบาย
              ที่ชัดเจนในการส่งคนงานไทยไปทำงานที่ไต้หวันและมีแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันมิให้เกิดปัญหา
              ทำนองดังกล่าวขึ้นอีก คณะอนุกรรมการฯ จึงมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้

              	     ข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                    ๑. การตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรมการจัดหางานกรณีผู้ร้อง โดยการสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ร้อง
              และบริษัทจัดหางานฯ ผู้ถูกร้องที่ ๑ น่าจะไม่เพียงพอ ส่วนกรณีที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ อ้างว่าผู้ร้องถูกส่งกลับ
              ประเทศเพราะผู้ร้องขัดขืนคำสั่งของนายจ้างนั้นก็ยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าขัดขืนคำสั่งนายจ้างในเรื่องใด ซึ่งหาก
              พิจารณาข้อเท็จจริงจากผู้ร้อง น่าจะเป็นเรื่องที่นายจ้างห้ามคนงานไทยมีหรือใช้โทรศัพท์มือถือในที่พักอาศัย
              หากข้อเท็จจริงเป็นเช่นว่านี้ คำสั่งของนายจ้างย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของคนงานไทย ซึ่งต่อมาจากการ
              เจรจาต่อรองของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายจ้างยอมยกเลิกระเบียบดังกล่าว
              	     ๒. เนื่องจากกรณีนี้ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณชนทั้งในระดับประเทศและในทางสากล หน่วยงานระดับ
              นโยบายทั้งของไทยและไต้หวันจึงให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา และมีการดำเนินการที่ค่อนข้างฉับไว

              การดำเนินการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทย
              	     ปลัดกระทรวงแรงงานไทย มีหนังสือ ที่ รง ๐๒๐๕.๒/๔๓๑๐ ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ ตอบ
              ชี้แจงต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ไทย) สรุปได้ดังนี้
                    (๑) กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับกรณีดังกล่าวในลำดับสูงสุด โดยได้รายงานข้อเท็จจริงให้คณะ

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๙๓





     Master 2 anu .indd   293                                                                     7/28/08   9:23:28 PM
   288   289   290   291   292   293   294   295   296   297   298