Page 279 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 279
ประเด็นแรก การที่ผู้ถูกร้องออกคำสั่งหรือประกาศห้ามลูกจ้างปิดประกาศหรือแจกจ่ายเอกสารหรือ
สิ่งพิมพ์ทุกชนิดในบริษัท เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานฯ ผู้ร้อง หรือไม่
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อความในประกาศห้ามาของผู้ถูกร้องเห็นว่าเป็นคำสั่งห้าม ลูกจ้างเผย
แพร่ข้อมูลข่าวสารทุกประเภทโดยไม่มีขอบเขต ซึ่งคำสั่งดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในการ
สื่อสารของลูกจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาภาวะหรือความจำเป็นในการออกประกาศห้ามดังกล่าว
ก็พบว่ามิได้มีเหตุการณ์หรือความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเช่นนั้น ตรงกันข้ามประกาศห้ามดังกล่าวเกิดขึ้น
ในช่วงที่ผู้ร้องและผู้ถูกร้องกำลังเจรจาข้อเรียกร้องตามกฎหมาย ซึ่งผู้ร้องจำเป็นจะต้องประชุมชี้แจง หรือ
สื่อสารเกี่ยวกับความคืบหน้าหรือขัดข้องในการเจรจาต่อรองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการยื่นข้อเรียกร้อง
อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๙ (เสรีภาพในการ
แสดงความคิดเห็น) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๘๖ (สิทธิในการจัดตั้ง
สหภาพแรงงาน) มาตรา ๙๘ (อำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงาน) มาตรา ๙๙ (สิทธิของสหภาพแรงงาน)
และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วม
ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ (ว่าด้วยการสมาคม การรวมตัวกันและการเจรจาต่อรองร่วม ซึ่งถึงแม้ประเทศ
ไทยจะยังมิได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่ถือว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีพันธกิจที่จะต้องรายงานสถานการณ์แรงงานเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอนุสัญญา
ทั้งสองฉบับให้ที่ประชุมใหญ่ได้ทราบ)
อย่างไรก็ตาม ที่ผู้ถูกร้องเป็นห่วงว่าลูกจ้างหรือผู้ร้องจะแจกจ่ายเอกสารหรือเผยแพร่ข้อมูลในทางที่
จะก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ลูกจ้างหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ถูกร้องนั้น คณะกรรมการฯ เห็นว่าหาก
ลูกจ้างหรือผู้ร้องกระทำการกังกล่าว ผู้ถูกร้องสามารถลงโทษทางวินัยหรือดำเนินคดีตามกฎหมายได้อยู่แล้ว
คำสั่งหรือประกาศฉบับดังกล่าว จึงขัดต่อกฎหมายและละเมิดสิทธิเสรีภาพของลูกจ้างหรือผู้ร้อง
ดังนั้นจึงไม่มีผลใช้บังคับ
ประเด็นที่สอง ผู้ถูกร้องใช้วิธีการจ้างเหมาค่าแรงในงานที่เป็นกระบวนการผลติของผู้ถูกร้องเป็นการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญ หรืออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือไม่
คณะกรรมการ ฯ ได้พิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจ้างเหมาค่าแรงในที่เป็นกระบวน การผลิตของ
สถานประกอบการแล้วพบว่า สัญญาจ้างเหมาค่าแรงก่อผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างที่ทำงานในกระบวน
การผลิตหลายประการ ดังนี้
๑. เกิดความไม่เสมอภาคด้านสภาพการจ้างของลูกจ้างที่ทำงานในกระบวนการผลิตของ ผู้ถูกร้อง
โดยเฉพาะแตกต่างในเรื่องสภาพการจ้างระหว่างลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงกับลูกจ้างของผู้ถูกร้อง เช่น
ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงต้องจ่ายเงินค่าฝึกงานและค่าชุดทำงาน ไม่ได้รับเบี้ยขยัน เงินโบนัส และการขึ้น
ค่าจ้างประจำปีตามระเบียบหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของผู้ถูกร้อง ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความต้องการ
การลดต้นทุนการผลิตและหารผลักภาระของผู้ถูกร้อง ประกอบพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
ยังไม่บทบัญญัติในการคุ้มครองลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงอย่างชัดเจน
๒. เกิดการแบ่งแยกลูกจ้างเป็นหลายกลุ่ม มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและกระทบ ต่อเสรีภาพ
ของลูกจ้างในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม เช่น กรณีลูกจ้างบริษัท บี เอ็น จี เซอร์วิส จำกัด ร้องขอ
ให้ผู้ร้องช่วยแก้ไขปัญหาให้ จึงถูกตำหนิจากฝ่ายบริหารของบริษัทฯว่าไปยุ่งเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน และห้าม
มิให้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ร้อง
เมื่อผู้ร้องใช้สิทธิยื่นข้อเรียกร้องเพื่อปรับปรุงสภาพการจ้างหรือใช้สิทธินัดหยุดงาน ผู้ถูกร้องจะใช้วิธี
จ้างเหมาค่าแรง เพื่อบั่นทอนการใช้สิทธินัดหยุดงานของผู้ร้อง ทำให้การนัดหยุดงานไม่มีพลังและไร้อำนาจ
ต่อรอง
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๗๙
Master 2 anu .indd 279 7/28/08 9:23:18 PM