Page 284 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 284
ตกลงอย่าเป็นธรรมและความสมานฉันท์ โดยถือเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาก่อนเข้าสู่
กระบวนการยุติธรรมปกติ เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานสัมพันธ์ครบวงจรจำเป็นต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่
เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิของลูกจ้างในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม และการคุ้มครององค์กรแรงงาน
ให้กลไกของกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวมีอำนาจสั่งการและมีผลบังคับให้ฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง
ในทันที ไม่ว่าจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฟ้องคดีให้เพิกถอนคำสั่งหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้มีผลคุ้มครองอย่างแท้จริง
และทันเหตุการณ์
(๒) เร่งรัดให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และฉบับแก้ไข เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมาย ในการคุ้มครองลูกจ้าง
หญิงมีครรภ์ที่ชัดเจนและครอบคลุม กำหนดแนวทางในการบริหารและการบังคับใช้กฎหมายตลอดจนการ
แก้ไขปัญหาในลักษณะเบ็ดเสร็จครบวงจรในจุดเดียว
(๓) เร่งรัดให้มีการปรับปรุงการบริหารและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานโดยเฉพาะในประเด็น
ที่กระทบต่อลูกจ้างมีครรภ์ หรือกรณีการเลิกจ้างลูกจ้างจำนวนมากโดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับผลประกอบการ
คำสั่งซื้อสินค้า หรือการปรับโครงสร้างองค์กรหรือยุบหน่วยงาน ตลอดจนการเลิกจ้างลูกจ้างในระบบเหมา
ค่าแรงหรือเหมาช่วง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานด้านแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเสียก่อนจึงจะ
เลิกจ้างได้ เพราะกรณีดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของลูกจ้างและครอบครัว และสังคมโดย
รวมอย่างรุนแรง
(๔) เร่งรัดให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ในประเด็นการจ้างเหมาค่าแรงหรือการจ้างเหมาช่วง เพื่อให้ลูกจ้างที่ทำงานใน
กระบวนการผลิตของสถานประกอบการไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างของสถานประการเองหรือลูกจ้างของผู้รับเหมา
ค่าแรงง ได้รับสวัสดิการและสภาพการจ้างที่เสมอภาคกัน โดยเฉพาะเร่งดำเนินการออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับ
สวัสดิการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตา ๙๕ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
มีอำนาจดำเนินการได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา ให้มีการปรับปรุงการบริหารและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ
แรงงานเพื่อป้องกันมิให้สถานประกอบการหรือผู้รับเหมาค่าแรงฉวยโอกาสเอาเปรียบหรือว่าฝ่าฝืนกฎหมาย
เช่น การจัดทำศูนย์ข้อมูลการจ้างงานในระบบจ้างเหมา การกำหนดให้สถานประกอบการแจ้งการจ้างเหมา
ค่าแรงหรือการจ้างเหมาช่วงตลอดสายการผลิตต่อกระทรวงแรงงาน การประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการ
บังคับใช้มาตรฐานแรงงานไทยและจรรยาบรรณทางการค้าอย่างจริงจัง เป็นต้น
๒. รัฐบาล
ในการกำหนดทิศทางและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพสังคม
ควบคู่ไปด้วยอย่างจริงจัง รวมถึงการกำหนดให้คำนึงถึงสิทธิแรงงานและสิทธิสหภาพแรงงานอย่างชัดเจนและ
มีผลบังคับ เป็นเงื่อนไขในการกำหนดสิทธิต่าง ๆ ตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุน
๒๘๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 284 7/28/08 9:23:20 PM