Page 274 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 274

รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน


                                                       โดย

                                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

              รายงานผลการการตรวจสอบที่ ๔/๒๕๔๘

              เรื่อง        นายจ้างถูกร้องเรียนว่าละเมิดสิทธิสหภาพแรงงาน และสิทธิของหญิงมีครรภ์

              ผู้ร้อง       นายวิชชุพล สุวรรณวัฒน์ ประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
                          และอิเลคทรอนิกส์

              ผู้ถูกร้อง      บริษัท เอ็ม เอ็ม ไอ พรีซิชั่น (ไทยแลนด์)จำกัด

                    นายวิชชุพล สุวรรณวัฒน์ ประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอิเลคทรอนิกส์ ได้ร้องเรียน
              ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหนังสือตามคำร้องเลขที่ ๗๕๙/๒๕๔ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน
              ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ว่า บริษัท เอ็ม เอ็ม ไอ พรีวิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด โดยนายก็อก
              ยิน ตอง กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท ห้ามลูกจ้างนำใบข้อความ ใบปลิวทุกชนิดเข้ามาปิด และหรือ
              แจกทั้งภายในบริเวณบริษัทฯ หรือบริเวณรั้วรอบนอกบริษัทฯทั้งฯ ที่เป็นช่วงเวลาในระหว่างที่สหภาพแรงงาน
              ยื่นข้อเรียกร้อง และอยู่ในระหว่างการเจรจาต่อรองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ทำให้
              สหภาพแรงงานไม่สามารถให้ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสารกับสมาชิก เพื่อประโยชน์ในการเจรจาต่อรอง
              ได้ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
              (ในขณะตรวจสอบใช้ชื่อคณะอนุกรรมการศึกษาและตรวจสอบปัญหาแรงงาน)  ดำเนินการตรวจสอบ
              คณะอนุกรรมการฯ  พิจารณาคำร้องและข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้วเห็นว่ามีมูลและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ
              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการตรวจสอบตามระเบียบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
              แห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน  พ.ศ.  ๒๕๔๕  พระราช
              บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

              สาระสำคัญของคำร้อง
                    ในระหว่างที่คณะอนุกรรมการ ฯ พิจารณาสอบตรวจคำร้องดังกล่าว มีการร้องเรียนเพิ่มเติม กล่าวหา
              ผู้ร้องและบริษัทรับเหมาค่าแรงของผู้ถูกร้องโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    ๑.  คำร้องเลขรับที่  ๘๒๐/๒๕๔๖  ลงวันที่  ๑๘  ธันวาคม  ๒๕๔๖  กรณีบริษัท  เอ็ม  เอ็ม  ไอ
              พรีซีชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ถูกร้องเรียนว่า บริษัท ฯ ใช้วิธีการจ้างเหมาค่าแรงที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
              ประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ฯ ผู้ร้อง
                    ผู้ถูกร้องได้ว่าจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรงให้จัดหาลูกจ้างมาทำงานในกระบวนการผลิตของผู้ถูกร้อง

        ๒๗๔  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   274                                                                     7/28/08   9:23:17 PM
   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279