Page 282 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 282
ด้านสวัสดิการสังคมเพียงพอ
๓. ควรมีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือพิเศษแก่เด็กและผู้เยาว์ทั้งปวง โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
เนื่องจากชาติกำเนิดหรือเงื่อนไขอื่นๆ เด็กและผู้เยาว์ควรได้รับการคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจและสังคม การว่าจ้างเด็กให้ทำงานซึ่งเป็นภัยต่อจิตใจหรือสุขภาพหรือเป็นอันตรายต่อชีวิตหรืออาจ
จะขัดขวางพัฒนาการตามปกติของเด็กควรได้รับการลงโทษตามกฎหมาย รัฐควรกำหนดอายุขั้นต่ำ ซึ่งห้าม
ไม่ให้มีการจ้างแรงงานแด็กและกำหนดให้มีโทษตามกฎหมายด้วย”
และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบว่าด้วยความเสมอภาคใน
การทำงานและสิทธิด้านแรงงานของสตรี ข้อ ๑๑/๒
(ก) เพื่อที่จะป้องกันการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจาการแต่งงานหรือ ความเป็น
เพศมารดา และเพื่อประกันสิทธิอันแท้จริงของสตรีในการที่จะทำงาน รัฐภาคีจะให้มาตรการที่เหมาะสม
(ข) เพื่อริเริ่มให้มีการลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้าง หรือได้ผลประโยชน์ทางสังคมที่ เปรียบเทียบได้
โดยไม่สูญเสียการงานเดิม อาวุโสในการทำงานหรือเงินช่วยเหลือทางสังคม
(ค) เพื่อกระตุ้นให้มีการบริการสังคมอันเป็นตัวสนับสนุนที่จำเป็น เพื่อที่จะช่วยให้บิดามารดาสามารถ
รวบรวมข้อผูกพันทางครอบครัวเข้ากับความรับผิดชอบในการงานและการเข้าร่วมในกิจการสาธารณะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งและพัฒนาขอบข่ายของสวัสดิการด้านการเลี้ยงดูเด็ก
(ง) ให้มีการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ในการทำงานทุกรูปแบบที่มีแนวโน้ม
ว่าจะเป็นอันตรายต่อสตรีเหล่านั้น”
คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตว่าความรู้และความเข้าใจของเจ้าพนักงานด้านแรงงานในประเด็นการ
คุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์ยังมีข้ออื่นหรือข้อจำกัด สังเกตได้จากคำชี้แจงต่อคณะกรรมการฯ ยังคงตีความ
ตามอักษรว่ากฎหมายห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ แต่กรณีนี้เมื่อผู้ถูกร้องชี้แจงแล้วว่าไม่ได้เลิกจ้างเพราะ
เหตุมีครรภ์แต่เพราะต้องการลดขนาดองค์กร จึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และยังแนะนำให้
ลูกจ้างยื่นคำร้อง ตามแบบ คร. ๗ เพื่อขอรับค่าชดเชย ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่รัฐด้านแรงงานก็แนะนำให้
ลูกจ้างฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลาง หากเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์และต้องการกลับเข้าทำงาน
โดยชี้แจงว่าพนักงานตรวจแรงงานหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ไม่มี
อำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างหญิงมีครรภ์กลับเข้าทำงาน อีกประการหนึ่ง เจ้าพนักงานด้านแรงงานมักยึด
คำพิพากษาของศาลแรงงานเป็นเกณฑ์ตายตัวในการปรับใช้การบริหารหรือบังคับใช้กฎหมาย หรือแก้ไข
ปัญหาเรื่องร้องเรียนของ ลูกจ้าง ซึ่งบางครั้งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แวดล้อมแตกต่างกันในสาระสำคัญ
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการฯพิจารณาเห็นว่ามูลเหตุสำคัญของความขัดแย้งตามคำร้องนี้เป็นผลมาจากการใช้วิธี
การจ้างงานแบบเหมาค่าแรงในงานที่เป็นกระบวนการผลิตของผู้ถูกร้อง จนทำให้เกิดปัญหาหลายด้านกล่าว
คือ ความไม่เสมอภาคในเรื่องสวัสดิการและสภาพการจ้าง การสูญเสียเสรีภาพในการรวมตัวการเจรจาต่อ
รอง การสูญเสียสิทธิขั้นพื้นฐานและความมั่นความในการทำงาน จนเป็นเหตุให้ผู้ร้องยื่นข้อเรียกร้องให้ยกเลิก
การจ้างเหมาค่าแรงหรือการจ้างเหมาช่วงในสถานประกอบการของผู้ถูกร้อง จะเห็นได้ว่ากลไกไตรภาคีก็ไม่
สามารถไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทให้เกิดความเป็นธรรมได้ ฝ่ายผู้ร้องและสมาชิกของผู้ร้องต้องจัดประชุมหรือ
นัดชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อรัฐบาล จนในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
จำเป็นต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เพื่อระงับข้อพิพาท
และสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
อย่างไรก็ตาม หลังจากข้อพิพาทแรงงานยุติลงโดยการชี้ขาดแล้ว ผู้ถูกร้องดำเนินนโยบายให้ลูกจ้าง
สมัครใจลาออก ซึ่งมีลูกจ้างเข้าร่วมจำนวน ๗๐๓ คน ต่อมามีการเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน ๒๙๗ คน โดยเลิก
๒๘๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 282 7/28/08 9:23:20 PM