Page 283 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 283

จ้างกรรมการลูกจ้างและกรรมการสหภาพแรงงานด้วยไม่ละเว้นแม้แต่ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ด้วยการอ้างเหตุผล
              การประกอบการขาดทุน จึงต้องลดขนาดองค์กร ทั้งนี้ เพื่อผลักภาระให้ผู้ร้องและลูกจ้างไปใช้สิทธิทางศาล
              ซึ่งมีค่าใช้จ่ายและใช้ระยะเวลานาน ซึ่งฝ่ายผู้ถูกร้องมีความได้เปรียบกว่า แม้ว่าคณะกรรมการฯ ได้พยายาม
              ไกล่เกลี่ยให้ผู้ถูกร้องยอมรับความจำเป็นและความชอบธรรมในเสรีภาพของลูกจ้างในการรวมตัวและการ
              เจรจาต่อรอง เพื่อมีการเจรจาให้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรมโดยมุ่งที่จะ
              ร่วมงานอย่างสมานฉันท์กันต่อไป แต่ผู้ถูกร้องยืนกรายให้ผู้ร้องและลูกจ้างใช้สิทธิทางศาล
                    นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ พยายามหารือเจ้าหน้าที่สำนักงานคุ้มครองแรงงาน ขอให้ วินิจฉัยกรณี
              การเลิกจ้างลูกจ้างหญิงมีครรภ์เพื่อลดภาระการต้องใช้สิทธิทางศาล แต่ก็ไม่เป็นผลแต่อย่างใด
                    ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีมติว่า การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการกระทำที่ละมิดสิทธิมนุษยชน และ
              เป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ตลอดจนข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งสาม
              ประเด็นการตรวจสอบ

              ข้อเสนอแนะและมาตรการการแก้ไขปัญหา
                      คณะกรรมการสิทธิแรงงานพิจารณาแล้ว เห็นควรมีข้อเสนอแนะและมาตรการการแก้ไขปัญหาการ
              ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไหนี้

              มาตรการการแก้ไขปัญหา
              	     กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
                    (๑) ดำเนินการให้ผู้ถูกร้องยกเลิกประกาศห้ามลูกจ้างแจกจ่ายใบข้อความ ใบปลิวหรือเอกสารใดๆ ใน
              บริเวณบริษัทผู้ถูกร้อง และประกาศหรือคำสั่งใดๆ ที่มีลักษณะจำกัดเสรีภาพของลูกจ้าง ในการสื่อสารและ
              เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในสถานประกอบการ และประสานความร่วมมือระหว่างผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง เพื่อหา
              มาตรการในการคุ้มครองและป้องกันมิให้การใช้เสรีภาพดังกล่าวเกิดความเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ให้แล้ว
              เสร็จภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบ
                    (๒) สั่งการให้ผู้ถูกร้องรับลูกจ้างหญิงมีครรภ์กลับเข้าทำงาน และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นใน
              ช่วงการเลิกจ้าง ทั้งนี้ ภาย ๔๕ วัน นับแต่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบ
                    (๓) ดำเนินการให้ผู้ถูกร้องจัดสภาพการจ้างที่เป็นธรรมไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่าง ลูกจ้างที่ถูกแบ่ง
              แยกกลุ่มเป็นหลายกลุ่ม ทั้งนี้ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบ
                    (๔) ใช้กรณีร้องเรียนนี้เป็นกรณีศึกษา ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ด้านแรงงาน สภาองค์การนายจ้าง และ
              สภาองค์การลูกจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความเข้าใจต่อบาบาทหรือความชอบธรรมของลูกจ้างและ
              สหภาพแรงงานในการเจรจาต่อรองและการป้องกันสิทธิของลูกจ้าง และการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของ
              เจ้าหน้าที่ด้านแรงงานในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์และลูกจ้างในระบบจ้างเหมา
              ค่าแรง ทั้งนี้ ภายใน ๖ เดือนนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบ
                    (๕)  ดำเนินการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ร้องและผู้ถูกร้องเพื่อสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์บน
              พื้นฐานของการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ความร่วมมือ ความสมานฉันท์ และความถูกต้องเป็นธรรม

              มาตรการเชิงนโยบาย
                    ๑. กระทรวงแรงงาน
                    (๑) เร่งรัดให้จัดตั้งกลไก เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางแรงงานสัมพันธ์ที่มีลักษณะพหุภาคี ประกอบด้วย
              ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง หน่วยงานภาครัฐ และนักวิชาการหรือผู้ทรงวุฒิด้านแรงงาน โดยพัฒนาขึ้น
              จากคณะกรรมการการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถเจรจาต่อรองเพื่อบรรลุข้อ

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๘๓





     Master 2 anu .indd   283                                                                     7/28/08   9:23:20 PM
   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288