Page 277 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 277

แรงงานของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มแรงงานจังหวัดปทุมธานี ว่าค้างจ่ายค่าจ้างลูกจ้างจำนวน ๓๓ คน
              ของเดือนเมษายน ๒๕๔๗ และจะแบ่งจ่ายให้ลูกจ้างเป็นสองงวดภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗
                    ลูกจ้างของบริษัทรับเหมาค่าแรง เช่น บริษัท บี เอ็น จี เซอร์วิส จำกัด และบริษัทเอส ที ดี เบอริ่ง
              จำกัด ถูกหักเงินค่าจ้างเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม แต่ลูกจ้างไม่ได้รับบัตรประกันสังคมหรือได้รับบัตร
              ล่าช้า จึงไม่ได้รับบริการจากกองทุนประกันสังคม ลูกจ้าแจ้งว่าเคยสอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม
              ได้รับแจ้งว่าหากลูกจ้างจะร้องเรียนเรื่องหักเงินเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม อาจจะไม่มีงานทำให้เลือกเอา
              ระหว่างมีงานทำกับตกงาน ลูกจ้างจึงไม่กล้าร้องเรียนติ่เจ้าพนักงานสำนักประกันสังคมจังหวัดปทุมธานี
                    เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ ผู้ร้องได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ถูกร้อง รวมทั้งสิ้น ๘ ข้อ ใน ข้อที่ ๒
              ระบุชัดเจนว่าขอให้บริษัทฯ ยกเลิกการจ้างเหมาค่าแรงและให้รับเป็นพนักงานประจำ
                    นอกจากนี้ หาผู้ถูกร้องไม่พอใจหรือไม่ต้องการให้ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงรายใดทำงานที่สถาน
              ประกอบกิจการของตน ผู้รับเหมาค่าแรงจะต้องเปลี่ยนตัวลูกจ้างในทันที
              	     ๓. เรื่องการเลิกจ้างลูกจ้างหญิงมีครรภ์
                    ในระหว่างวันที่ ๒๒ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ ผู้ถูกร้องได้ประกาศเลิกจ้างที่ทำงานอยู่ในหน่วย
              ผลิต ๔ แห่ง จำนวน ๒๙๗ คน ในจำนวนนี้มีลูกจ้างหญิงมีครรภ์จำนวน ๑๐ คน รวมอยู่ด้วย ผู้ถูกร้องอ้าง
              เหตุผลว่าต้องการลดขนาดองค์กรลง เนื่องจากประสบภาวะขาดทุนตั้งแต่ ปี ๒๕๔๒ เป็นต้นมา โดยผู้ถูกร้อง
              ยินดีจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ผู้ถูกร้องร้องแจ้งว่าการเลิกจ้างในครั้งนี้มิได้มีสาเหตุจากการมีครรภ์
                    ผู้แทนผู้ถูกร้องได้แถลงข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานกลางธัญบุรีว่า ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ผู้ถูก
              ร้องมีลูกจ้างจำนวน ๒๖๐ คน ในหน่วยผลิตทั้ง ๔ แห่ง ยังคงมีการผลิตตามปกติ ลูกจ้างของผู้ถูกร้องยังคง
              ทำงานอยู่ทั้ง ๔ แห่ง แลผู้ถูกร้องได้ว่าจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรงจัดหาลูกจ้างเข้ามาทำงานในกระบวนการ
              ผลิตของ ผู้ถูกร้อง เช่น ในหน่วยผลิตที่ ๑ มีการรับลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง จำนวน ๗๘ คน ลูกจ้างหญิง
              มีครรภ์ ที่ถูกเลิกจ้างทำงานอยู่ในหน่วยผลิตทั้ง ๔ แห่ง และผู้ถูกร้องทราบดีว่าลูกจ้างดังกล่าวมีครรภ์
                    กรณีนี้ลูกจ้างได้ร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี
              เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่ามิได้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ณ สถานประกอบการของผู้ถูกร้อง เพียงแต่โทรศัพท์สอบถาม
              ข้อมูลจากฝ่ายผู้ถูกร้อง และชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการฯ ว่านายจ้างอ้างว่ามิได้เลิกจ้าง ลูกจ้างเพราะเหตุ
              มีครรภ์ แต่เป็นเพราะต้องการลดขนาดองค์กร แลผู้ถูกร้องได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง อันเป็นการปฏิบัติ
              ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้ว และเห็นว่าการเลิกจ้างชอบด้วยกฎหมาย
              แล้ว โดยอ้างคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางธัญบุรีที่อนุญาตให้เลิกจ้างกรรมกรลูกจ้างโดยวินิจฉัยว่า
                    “นายจ้างประสบภาวะขาดทุน คำสั่งซื้อสินค้าลดลง และงานที่กรรมดารลูกจ้างทำอยู่เป็นส่วนงาน
              ที่ผลิตเฉพาะผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ลูกค้าสั่งซื้อ แต่ปัจจุบันไม่มีคำสั่งซื้อแล้ว หากจะต้องจ้างกรรมการลูกจ้าง
              ต่อไปย่อมไม่เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ของบริษัท  หากจะให้ย้ายไปทำงานที่แผนกอื่นก็จะไม่เป็นธรรม
              กับลูกจ้างอื่น  เพราะนายจ้างย่อมต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อลดขนาดองค์กร  โดยอ้างคำพิพากษาฎีกา
              ที่  ๗๓๓/๒๕๔๐”  (คำพิพากษาศาลแรงงานกลางธัญบุรี  คดีหมายเลขแดงที่  ธบ.  ๖๗/๒๕๔๗  เรื่อง
              ขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๗ คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา)
                    ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ที่ถูกเลิกจ้างชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่ให้ลูกจ้างกรอกแบบ คร.๗ เพื่อรับเงินค่าชดเชย
              ตามกฎหมาย แต่ลูกจ้างต้องการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้ลูกจ้างได้กลับเข้ามาทำงาน ไม่ต้องการค่า ชดเชย
              เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างหญิงมีครรภ์กลับเข้ามาทำงาน หากลูกจ้าง
              ประสงค์เช่นนั้น  จะต้องไปฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน  จึงแนะนำให้ลูกจ้างรับเงินค่าชะเชย  ลูกจ้างบางส่วน
              มีความเดือดร้อน จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อดูแลสุขภาพทั้งของตนเองและเด็กในครรภ์ และไม่พร้อมที่จะฟ้องศาล
              เรื่องจากใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายมากมาย บางคนจึงจำใจรับค่าชดเชย
                    อย่างไรก็ตาม ในระหว่างดำเนินการตรวจสอบคณะอนุกรรมการฯ ได้จัดเสวนาเรื่อง แนวทางการแก้ไข

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๗๗





     Master 2 anu .indd   277                                                                     7/28/08   9:23:18 PM
   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282